ผ่าข้อสอบ PAT 2 บทไหน ห้ามทิ้ง

ผ่าข้อสอบ PAT 2 บทไหน ห้ามทิ้ง

ผ่าข้อสอบ PAT 2 บทไหน ห้ามทิ้ง

การสอบ GAT/PAT ก็ใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว น้องๆเหลือเวลาในการเตรียมตัวสอบกันอีกไม่มากแล้ว วันนี้พี่จึงอยากจะมาผ่าข้อสอบ PAT 2 ให้น้องๆได้ดูกันว่า น้องควรโฟกัสอ่านที่บทไหนดี? เพราะ PAT 2 ก็มีตั้ง 3 วิชา ถ้าจะให้เก็บหมดทุกเรื่อง ทุกบท ตอนนี้ อาจจะไม่ทันแน่ๆ ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

*อ้างอิงการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อสอบปีก่อนๆ

ก่อนอื่นเรามาเริ่มจากรูปแบบและสัดส่วนในข้อสอบ PAT 2 กันก่อนดีกว่าค่ะ

โดยข้อสอบ PAT 2 จะมีข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ รูปแบบเป็นปรนัย 5 ตัวเลือก ข้อละ 3 คะแนน คะแนนเต็ม 300 คะแนน

พี่ขอเริ่มต้นวิเคราะห์จากวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ ค่ะ

 

ฟิสิกส์ ห้ามทิ้ง

 

จากข้อสอบปีก่อนๆ บทที่ออกบ่อยสุดพี่สรุปมาให้ดูง่ายๆ โดยประมาณจำนวนข้อที่ออกคร่าวๆดังนี้

 

1. คลื่น ข้อสอบชอบออกสมบัติของคลื่นชนิดต่างๆ ไม่ก็มีการคำนวณด้วย

2. งานและพลังงาน เรื่องนี้เหมาะกับการเก็บคะแนนอย่างมาก ถ้าเข้าใจสูตรก็ทำคะแนนได้เลย เรื่องนี้มักมาพร้อมกับเรื่อง แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่

3. ฟิสิกส์อะตอม เรื่องนี้เหมือนเป็นแพทเทิร์น พี่สังเกตุจะออกวนอยู่ 3 เรื่องหลักๆ คือ แบบจำลองอะตอมของโบว์ อะตอมไฮโดรเจน

และปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก

4. แสง เรื่องนี้ชองให้น้องๆคำนวณระยะการเกิดภาพ การตกกระทบ ชนิดของภาพที่ได้ และที่สำคัญเลนส์นูน เลนส์เว้า ออกสอบแน่ๆ

5. ของแข็ง ของเหลว ของไหล ข้อนี้ออกทุกปี แต่ที่พี่ไม่ให้ทิ้งเรื่องนี้ก็เพราะว่าเรื่องนี้ข้อสอบออกไม่ยาก ไม่อยากให้ทิ้งคะแนนค่ะ

 

 

 

เคมี ห้ามทิ้ง

 

 

ถึงวิชาเคมีจะออกครบแทบทุกบทเลย แต่พี่ขอเน้น 5 บทใหญ่ๆ ที่ออกข้อสอบบ่อย+เก็บคะแนนง่าย ให้น้องๆดีกว่าค่ะ

1. เคมีอินทรีย์ เรื่องที่ออกบ่อยๆก็หนีไม่พ้น

  • สมบัติของหมู่ต่างๆ โดยข้อสอบจะออกแนวประยุกต์ค่ะ  คือโจทย์มักจะให้สารมาแล้วให้ตัวเลือกเป็นสมบัติสารต่างๆแล้วถามว่าข้อใดสรุปถูกต้อง หรือไม่ก็สลับกันให้คุณสมบัติของสารมาในโจทย์ แล้วให้ตัวเลือกว่าคุณสมบัติที่กล่าวมาเป็นสารใด ดังนั้นน้องๆต้องเข้าใจสมบัติของแต่ละหมู่ ถึงจะเก็บคะแนนบทนี้ได้
  • ไอโซเมอร์ โจทย์มักจะถามว่าโครงสร้างนี้ เป็นไอโซเมอร์ได้กี่แบบ หรือเป็นไอโซเมอร์รูปร่างแบบไหนได้บ้าง ข้อสอบลักษณะนี้ดูเผินๆเหมือนจะยาก เพราะโจทย์ชอบให้สารที่มีโครงสร้างซับซ้อน แต่เอาจริงๆ บทนี้ไม่ยาก คนที่จะทำได้ คือคนที่ฝึกโจทย์ลักษณะนี้บ่อยๆค่ะ

2. ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2 เป็นบทคำนวณที่น้องๆหลายคนขอบ๊ายบาย แต่ว่า!! ขอบอกเลยว่า บทนี้มีแพทเทิร์นในการคำนวณคล้ายๆเดิม แค่โจทย์เปลี่ยนชนิดสารและปริมาณเท่านั้น และที่สำคัญระวังเรื่องหน่วยด้วยค่ะ ต้องดูว่าโจทย์ให้หน่วยอะไรมา แล้วถามหน่วยอะไร ต้องเปลี่ยนหน่วยไหม โดยเรื่องที่ออกบ่อยก็มีดังนี้ค่ะ

  • สารละลาย ออกบ่อยมากๆ โดยมักจะให้คำนวณ Molarity ซึ่งก็คืออัตราส่วนของจำนวนโมลของตัวถูกละลายต่อปริมาตรของสารละลาย เราสามารถหาโมลาริตีได้ ถ้ารู้ค่าของโมลกับปริมาตร (หน่วยลิตร) หรือโมลกับปริมาตร (หน่วยมิลลิลิตร) หรือมวลกับปริมาตร โดยการคำนวณก็ไม่ยาก เพียงแค่นำค่าดังกล่าวมาใส่ในสูตร จากนั้นคิดเลขนิดหน่อย ก็หาโมลาริตีได้แล้ว 
  • สมการเคมี โจทย์จะให้สมการเคมีมาโดยสิ่งที่น้องๆต้องทำก็คือการดุลสมการ หากน้องๆฝึกดุลสมการบ่อยๆ น้องจะชอบทำโจทย์ลักษณะนี้ไปเลยค่ะ

3. พันธะเคมี

  • พันธะโคโวเลนต์ เรื่องนี้จะออกเรื่องรูปร่างพันธะ ความยาวพันธะ สภาพขั้ว พลังงานพันธะ น้องๆต้องเข้าใจหลักการการเกิดรูปร่างพันธะแต่ละแบบ จะทำให้ทำข้อสอบลักษณะนี้ได้ง่ายๆเลยค่ะ
  • พันธะไออนิก เรื่องนี้โจทย์ก็จะถามคำถามคล้ายๆพันธะโคโวเลนต์ แต่คำถามอาจจะน้อยกว่า น้องๆควรรู้การอ่านชื่อของสารประกอบไอออนิก หลักการการเกิดพันธะ และสมบัติต่างๆค่ะ

4. กรด-เบส เรื่องนี้สิ่งที่ออกบ่อยที่สุดคือ การคำนวณ เพราะการคำนวณเรื่องนี้สามารถประยุกต์โจทย์ได้ โจทย์จะเน้นอยู่ 2 เรื่องหลักๆคือ

  • การแตกตัว
  • คู่กรด-คู่เบส

ให้น้องเน้นเลย เพราะหัวข้อนี้มีหลายคนบอกว่ายาก เพราะไม่แน่ใจว่าสารไหนแตกตัวแล้วได้กรดอ่อนหรือกรดแก่กันแน่ จะเก็บข้อสอบบทนี้ได้ต้องรู้สมบัติธาตุหมู่ต่างๆด้วย ว่าหมู่ไหนมีสมบัติเป็นอย่างไร

5. ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี เรื่องที่ออกบ่อยคือ

  • หลักการดุลสมการรีดอกซ์ น้องๆจะทำโจทย์เรื่องนี้ได้ น้องต้องมีความรู้เรื่องเลขออกซิเดชันก่อน น้องถึงจะดุลสมการรีดอกซ์ได้ 
  • เซลล์กัลวานิก บทนี้ชอบออกเรื่อง E Cell และแผนภาพปฏิกิริยาครึ่งเซลล์โดยลักษณะโจทย์ส่วนใหญ่จะให้ภาพหรือสมการและถามแผนภาพปฏิกิริยาครึ่งเซลล์

 

 

ชีวะ ห้ามทิ้ง

 

 

มาถึงวิชาสุดท้ายแล้ว ชีววิทยา วิชานี้เนื้อหาเยอะมาก กว่าจะอ่านให้เข้าหัวที เสียเวลาเหลือเกิน...ไปดูหัวข้อที่ออกบ่อย ออกทุกๆปีกันดีกว่า

1. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เรื่องนี้เป็นบทใหญ่มาก เพราะมีหลายหัวข้อย่อยๆ ต้องจำแนกสิ่งมีชีวิตต่างๆ ถ้าจะให้จำง่ายๆ ควรวาดเป็นแผนภาพ

2. วิวัฒนาการ บทนี้ออกปีละ 2-3 ข้อ เรื่องที่ออกบ่อยๆคือ

  • ความแปรผันทางพันธุกรรมม, Mutation

3. ระบบนิเวศ บทนี้เป็นบทแจกคะแนนค่ะ ถ้าอ่านมาก็ออกแบบตรงๆ ไม่ต้องคิดมากให้ปวดหัวเหมือนเรื่องอื่นๆ เรื่องที่ออกบ่อยๆคือ

  • การถ่ายทอดพลังงาน โจทย์มักให้คำนวณเปอร์เซ็นต์พลังงานที่ได้ในแต่ละห่วงโซ่อาหารหรือแต่ละลำดับขั้นในห่วงโซ่อาหาร

4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม หัวข้อที่ออกบ่อยมากๆก็คือ

  • โครโมโซมและยีนส์ เรื่องที่ออกบ่อยคือ Autosome, X-linked & Y-linked, โรคความผิดปกติที่เกิดจากโครโมโซม และแผนภาพ Pedigree

5.การสังเคราะห์แสง เป็นอีกบทที่เนื้อหาเยอะ แต่ถ้าอ่านมาก็เก็บคะแนนได้แน่นอน เรื่องที่ชอบออกก็คือ

  • วัฏจักร Calvin 
  • การเปรียบเทียบระหว่างพืช C3,C4 และ CMC

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ การผ่าข้อสอบ PAT 2 เมื่อน้องๆรู้แล้วว่า บทไหนบ้าง ที่ทิ้งไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนและโฟกัสบทเหล่านี้กันด้วยนะคะ แต่ถ้าใครกลัวเตรียมตัวไม่ทัน พี่ขอแนะนำ คอร์สติว TCAS บุฟเฟต์ ติวกับติวเตอร์ชั้นนำ ติวไม่อั้น ยาวจนถึงสอบ อย่าลืมไปทดลองใช้ฟรีกันนะคะ

โดย Kannika_Film