จุฬาลงกรณ์ (CU) และ ธรรมศาสตร์ หรือ มธ (TU) ถือเป็นมหาวิทยาลัยในฝันของหลายๆ คน การสอบเข้ามหาลัยคณะอินเตอร์ จุฬา หรือ คณะอินเตอร์ มธ จำเป็นต้องใช้คะแนน CU-TEP และ TU-GET ยื่นเข้ามหาลัย 

 

ถ้าน้อง ๆ ตั้งเป้าหมายไว้แล้วว่าจะเข้าจุฬา อินเตอร์ หรือ ธรรมศาสตร์ อินเตอร์ opendurian ก็พร้อมที่จะช่วยน้องไปถึงเป้าหมายในการคว้าคะแนนสอบ CU-TEP สูง ๆ และพิชิตการสอบ TU-GET พร้อมเข้าคณะอินเตอร์ในฝัน! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูข้อมูลกันว่า CU-TEP สอบอะไรบ้าง และ TU-GET สอบยากแค่ไหน แต่ละคณะต้องใช้คะแนนขั้นต่ำเท่าไร พร้อมแล้วเลื่อนลงไปดูกันเลย!

 

CU-TEP คืออะไร?
  • CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) คือ การทดสอบวัดระดับความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการศึกษาต่อ 
  • ข้อสอบ CU-TEP ออกโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Academic Testing Center) 
  • ข้อสอบ CU-TEP จะมีอยู่สองแบบคือแบบกระดาษ (Paper-based) และแบบคอมพิวเตอร์ (E-Testing)
  • ข้อสอบ CU-TEP จะเป็นการวัดทักษะภาษาอังกฤษทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการฟัง (Listening) การอ่าน (Reading) การเขียนเชิงไวยากรณ์ (Grammar for Writing) และการพูด (CU-Speaking)
  • ผลการสอบ CU-TEP สามารถนำไปใช้ประกอบการศึกษาต่อจุฬาอินเตอร์ ทั้งในระดับปริญญาตรี (เช่นคณะดังอย่าง BBA จุฬาฯ) และบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติ เรียกได้ว่าสามารถยื่นเข้าคณะอินเตอร์จุฬา ได้เกือบทุกคณะ ไม่ว่าจะเป็น 
    • Economics (EBA)
    • Communication Arts (Comm Arts)
    • Applied Chemistry (BSAC) 
    • Engineering (ISE) 
    • Design & Architecture (INDA) 
    • Language & Culture (BALAC) 
    • Integrated Innovation (BAScii) และอื่น ๆ อีกมากมาย 
  • นอกจากนี้คะแนน CU-TEP ยังสามารถนำไปยื่นเพื่อการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในไทยได้ เช่น BBA Internation Program คณะบริหารธุรกิจ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ (KITMAN) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้น้อง ๆ ต้องดู Requirements ตามเกณฑ์ต่าง ๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกทีนะคะ
  • การสอบ CU-TEP ราคา 900 บาท (PBT), CU-TEP (E-Testing) ราคา 2,500 บาท, CU-TEP (PBT) & Speaking ราคา 2,900 บาท และ E-Package CU-TEP (E-Testing) & Speaking ราคา 4,000 บาท
การสมัครสอบ CU-TEP

ขั้นตอนในการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ

 

  1. กรอกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการลงทะเบียนให้ครบถ้วนที่เว็บไซต์ 
  2. เมื่อลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย น้อง ๆ สามารถกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรหัสผ่านที่ตั้งไว้ในขั้นตอนแรกเพื่อเข้าสู่ระบบ

 

ขั้นตอนการสมัครสอบ CU-TEP

 

  1. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ให้น้อง ๆ คลิกที่ สมัครสอบ
  2. หลังจากนั้นให้น้อง ๆ คลิกที่ ลงทะเบียน
  3. อ่านเงื่อนไขและข้อตกลงต่าง ๆ ให้เรียบร้อย แล้วคลิก ยอมรับ
  4. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวอีกครั้งให้ละเอียดถูกต้อง และคลิก ยืนยัน
  5. หลังจากยืนยันข้อมูลส่วนตัว ระบบจะแสดงชื่อการสอบ วันเวลา และค่าธรรมเนียมการสอบ
  6. ให้น้อง ๆ ติ๊กหน้าการสอบที่ต้องการ แล้วคลิกลงทะเบียนสอบ

 

ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมการสอบ / การตรวจสอบศูนย์สอบ / การประกาศคะแนน

 

  1. ในการชำระค่าธรรมเนียมการสอบ ให้น้อง ๆ พิมพ์ใบลงทะเบียน และนำใบลงทะเบียนไปชำระที่ธนาคารสาขาใกล้บ้าน หรือร้านค้าที่ได้ระบุไว้ในเว็บไซต์
  2.  น้อง ๆ ต้องชำระค่าธรรมเนียมภายใน 23:00 น. ของวันถัดไป นับจากวันที่ลงทะเบียนสมัครสอบ 
  3. ถ้าน้องไม่ชำระค่าธรรมเนียมในเวลาที่กำหนด ศูนย์สอบจะทำการยกเลิกการลงทะเบียนในรอบนั้นโดยอัตโนมัติ 
  4. น้อง ๆ สามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ได้หลังจากชำระเงินไปแล้ว 1-2 วันทำการ
  5. น้อง ๆ ตรวจสอบสถานที่สอบ โดยศูนย์สอบจะประกาศสถานที่สอบก่อนวันสอบ 1 อาทิตย์
  6. หลังจากทำการสอบเสร็จสิ้นประมาณ 2 อาทิตย์ ให้น้อง ๆ เข้ามาดูคะแนนสอบผ่านทางเว็บไซต์ ล็อกอินและเช็คผลคะแนน (ยกเว้น CU-Speaking จะสามารถดูคะแนนได้หลังจากวันสอบ 3 อาทิตย์)

อย่าลืม!! เมื่อรู้ผลคะแนนแล้ว มาแจ้งทางเพจของเราให้ครูนก ครูเจี๊ยบ และพี่แอดมินชื่นใจและแสดงความยินดีด้วยนะคะ

 

ศูนย์สอบ CU-TEP ทั่วประเทศไทย

 

น้อง ๆ คงมีคำถามว่า CU-TEP สอบที่ไหน? สถานที่สอบไหนเปิดบ้าง? ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันจึงขอแนะนำให้รีเช็กทางเว็บไซต์  อีกครั้งว่าศูนย์สอบใกล้บ้านของน้องยังสามารถดำเนินการสอบได้หรือไม่นะคะ

 

ในกรุงเทพ

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในภาคเหนือ

  • เชียงใหม่ - รร.มงฟอร์ตวิทยาลัย
  • พิษณุโลก - โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
  • กำแพงเพชร - มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • สกลนคร - โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • นครพนม - มหาวิทยาลัยนครพนม

ในภาคใต้

  • นครศรีธรรมราช - มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • สงขลา - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาพรวมการสอบ CU-TEP
  • CU-TEP มี 120 ข้อ คะแนนเต็มรวม 120 คะแนน 
  • ผลคะแนน CU-TEP มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่สอบ
  • ข้อสอบ CU-TEP จะดำเนินการสอบในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 10 นาที 
  • ข้อสอบ CU-TEP ประกอบไปด้วย 3 พาร์ทหลัก และ 1 พาร์ทเสริม นั่นคือ 
    • การฟัง (Listening) 
    • การอ่าน (Reading) 
    • การเขียนเชิงไวยากรณ์ (Grammar for Writing)
    • การพูด (CU-Speaking)

ทีนี้ เรามาเจาะลึกข้อสอบในแต่ละพาร์ทกันว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง


CU-TEP Listening

 

  • ข้อสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ คิดเป็น 30 คะแนน ภายในเวลา 30 นาที
  • น้อง ๆ มีเวลาเพียง 1 นาทีต่อ 1 ข้อดังนั้น ทุก ๆ วินาทีมีค่า ต้องโฟกัสให้ได้มากที่สุด
  • ในการสอบจะมีการเปิดเทปให้ฟังอย่างต่อเนื่องเพียงรอบเดียว และจะไม่มีบทพูดหรือคำถามมาให้  น้อง ๆ ต้องตั้งสติให้มากที่สุด ถ้าหลุดแล้วปล่อยไปเลย อย่าพะวงหน้าพะวงหลัง
  • ในแต่ละส่วนของข้อสอบจะมีการบอก Instruction ของส่วนนั้น ๆ ก่อนเสมอ
  • ผู้เข้าสอบสามารถจดสิ่งที่ได้ยินในกระดาษได้ระหว่างที่ฟังเทป
  • รูปแบบข้อสอบในพาร์ท Listening มีทั้งหมด สามรูปแบบ คือ
    • Short Dialogues บทสนทนาระหว่างคนสองคนสั้น ๆ จะมีจำนวนข้ออยู่ที่ 15 ข้อ (50%) 
      • Tips: ส่วนนี้เป็นส่วนเก็บคะแนนเต็ม ถ้าตั้งใจฟังหวังเต็มได้เลย
    • Long Dialogues บทสนทนาที่มีการโต้ตอบ (มีประมาณ 2-3 คน) จะมีจำนวนข้ออยู่ที่ 9 ข้อ (30%) 
      • Tips:  ในส่วนนี้บทสนทนาจะมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีจังหวะที่อาจจะไวขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นตั้งสติให้ดี พยายามฟังและจดคีย์เวิร์ดไว้กันพลาด ส่วนนี้ยังไม่ยากมาก แต่ต้องจับประเด็นได้ไว และรู้ว่าคำตอบไหนจริงหรือหลอก
    • Monologues บทพูดเดี่ยว มักจะเป็นการพูดเชิงบรรยาย หรือเป็นการกล่าวสุนทรพจน์ จำนวน 2 บทพูด และมีจำนวนข้ออยู่ที่ 6 ข้อ (20%)  
      • Tips: ส่วนนี้ค่อนข้างมีความยากในการจับประเด็น ดังนั้นน้อง ๆ ควรจดข้อมูลต่าง ๆ ไว้ และพยายามฟังคีย์เวิร์ดต่าง ๆ ในบทพูดด้วย

 

CU-TEP Reading

 

  • มีทั้งหมด 60 ข้อ คิดเป็น 30 คะแนน ภายในเวลา 70 นาที
  • น้อง ๆ มีเวลาทำเฉลี่ยอยู่ที่ข้อละ 1 นาทีกว่า ๆ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ถ้าจับจุดในการตอบไม่เจอ หรือไม่มีเทคนิคดี ๆ จะทำให้ทำข้อสอบไม่ทันได้ง่าย ๆ
  • ข้อสอบ CU-TEP Reading จะมีรูปแบบอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ
    • Cloze Reading มี 1 บทความ ลักษณะของข้อสอบจะเป็นการเว้นช่องว่างไว้ให้เราเลือกคำตอบไปเติมเพื่อให้สมบทความถูกต้องโดยสมบูรณ์ ในพาร์ทนี้จะมีจำนวนข้ออยู่ที่ 15 ข้อ (25%)
      • Tips: รูปแบบ Cloze Reading ถือว่าไม่ยากมาก แต่น้อง ๆ ต้องมีความแม่นยำในด้านไวยากรณ์ และมีคลังคำศัพท์เยอะพอสมควร ดังนั้นน้อง ๆ ควรทบทวนพื้นฐานทางไวยากรณ์ให้หนัก และพยายามจำเรื่อง Parts of Speech ให้แม่น เพราะน้องต้องมองให้ออกว่าคำไหน คือ คำประเภทใด มากไปกว่านั้นน้อง ๆ ควรฝึกการทำข้อสอบที่ใช้หลักการเดาคำศัพท์จากบริบทอีกด้วย 
    • Short Passage มี 1 บทความ (ความยาวประมาณ 1 ย่อหน้า รวมคำถามด้วยจะอยู่ที่ประมาณ 1 หน้า A4) ข้อสอบมักออกมาในรูปแบบของจดหมาย หรือบทความที่ใช้ภาษาเชิงวิชาการ มักถามถึงใจความสำคัญ (Main Idea) รายละเอียดบางอย่าง และให้ผู้เข้าสอบเดาความว่าคำศัพท์ หรือ pronoun บางคำ หมายถึงอะไร (Making Inference)  ในพาร์ทนี้จะมีจำนวนข้ออยู่ที่ 5 ข้อ (3.5%)
      • Tips: ข้อสอบประเภทนี้ถือว่าค่อนข้างยากเพราะต้องใช้ทักษะการอ่านจับใจความ (Reading Comprehension) มากพอสมควร น้อง ๆ ควรพยายามหาคีย์เวิร์ดในบทความ มองหาใจความหลักของแต่ละย่อหน้าให้เจอว่าสื่อถึงอะไร ถ้าไม่มีเทคนิคที่ดี ข้อสอบรูปแบบนี้ไม่ง่าย!
    •  Long Passages มี 4 บทความ ความยาวประมาณ 1 หน้า A4 (รวมคำถามด้วยจะอยู่กินพื้นที่ประมาณ 2 หน้า A4) ข้อสอบในส่วนนี้มักบทความที่มีการใช้ภาษาเชิงวิชาการ บทความที่ออกบ่อย ๆ มักเป็นบทความแนววิทยาศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม การท่องเที่ยว ในส่วนของคำถาม มีการถามถึงใจความสำคัญ รายละเอียด และการให้ผู้สอบเดาคำศัพท์หรือ pronoun ต่าง ๆ ใกล้เคียงกับ Short Passage
      • Tips: ด้วยความที่บทความมีความยาวกว่าเท่าหนึ่ง ทำให้ตรงนี้เป็นจุดปราบเซียนที่ทำให้ผู้สอบหลาย ๆ คนทำไม่ค่อยทัน ถ้าหากน้อง ๆ ขาดการฝึกฝน หรือไม่มีเทคนิคดี ๆ ในการทำข้อสอบการอ่านจับใจความ อาจจะทำให้ได้คะแนนไม่สูงนัก แนะนำให้น้องพยายามฝึกทำข้อสอบ Reading ที่มีความใกล้เคียงกันจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้เยอะเข้าไว้ จะทำให้เราพอจะรู้แพทเทิร์นของข้อสอบ และสามารถจับประเด็นของคำถามต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

 

CU-TEP Writing

 

  • มีทั้งหมด 30 ข้อคิดเป็น 30 คะแนนภายในเวลา 30 นาที
  • น้อง ๆ มีเวลาทำข้อละ 1 นาทีเท่านั้น
  • ชื่อว่า Writing แต่จริง ๆ แล้วเป็นการวัดเชิงไวยากรณ์ (Grammar) และเชิงโครงสร้างประโยค (Sentence Structure)
  • รูปแบบข้อสอบเป็นแบบ Error Identification นั่นคือการหาจุดผิดเชิงไวยากรณ์และโครงสร้างในประโยค
  • ความยาวของประโยคในแต่ละข้อมีทั้งสั้นและยาวปะปนกันไป
  • พาร์ทนี้ ไม่ยาก แต่ต้องมีความรู้เชิงไวยากรณ์และโครงสร้างประโยคที่แน่นและแม่นยำจึงจะสามารถมองหาจุดผิดได้ง่าย ๆ 

 

CU-TEP Speaking

 

  • พาร์ทนี้ไม่บังคับสอบ เป็นการสอบแยก (optional) ต้องเสียค่าสอบเพิ่มเติม แต่น้อง ๆ อาจจะต้องดูว่าคณะที่จะสมัครต้องการคะแนนในส่วน Speaking ด้วยหรือไม่
  • มีทั้งหมด 3 พาร์ท คิดเป็น 30 คะแนน เวลาประมาณ 15-20 นาที 
  • มีเวลาให้เตรียมตัวในแต่ละพาร์ทเพียง 45 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นน้อง ๆ ต้องใช้ทุกวินาทีให้คุ้มค่า
  • มีเวลาในการพูด 2 นาที ถือว่าไวมาก เพราะฉะนั้นการเรียบเรียงคำพูดคือสิ่งที่สำคัญ
  • ข้อสอบ CU-Speaking มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ
    • Describing Pictures เป็นการบรรยายภาพทั้งหมด 5-6 ภาพ ภาพทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ธีมเดียวกัน สามารถเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเดียวกันได้ เช่น เรื่องการเรียนภาษาต่างประเทศ อาจจะมีรูปเด็กนั่งเรียน มีรูปครูฝรั่งกำลังสอน มีรูปเด็กหัวเราะ มีรูปเด็กร้องไห้ เป็นต้น 
    • Expressing Opinions เป็นการแสดงทัศนคติของผู้สอบต่อเรื่องที่โจทย์ให้มา จะมีความเกี่ยวข้องกับพาร์ทแรก เช่น ในพาร์ทแรกเราอธิบายถึงเรื่องการเรียนภาษาต่างประเทศ โจทย์อาจจะถามประมาณว่า “Learning a foreign language should be compulsory in every school. Do you agree or disagree with the statement and why? (การเรียนภาษาต่างประเทศควรเป็นข้อบังคับในทุก ๆ โรงเรียน คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร)” ซึ่งจริง ๆ แล้วการแสดงความคิดเห็นไม่มีถูกหรือผิดตายตัว แต่การแสดงความคิดเห็นจำเป็นต้องมีตรรกะที่ดี มีการอธิบายให้ผู้ฟังเห็นภาพว่าทำไมเราถึงคิดเห็นแบบนี้
    • Summarizing the Talk พาร์ทนี้จะเป็นรูปแบบของการสรุปความจากสิ่งที่คนอื่นพูด โดยในการสอบจะมีวิดีโอเปิดให้ดู ซึ่งมักจะเป็นการบรรยายที่มีความยาวพอสมควร แล้วน้อง ๆ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่าวิดีโอพูดถึงอะไร มีใจความว่าอย่างไร มีรายละเอียดหลัก ๆ อะไรบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าเนื้อหานั้นก็จะมีความข้องเกี่ยวกับพาร์ท 1 และ 2 เช่นกัน แต่จะมีความเข้มข้นขึ้น ถือว่าเป็น the last boss ที่ยากสุด ๆ เพราะนอกจากจะต้องฟังให้เข้าใจแล้ว ยังต้องสรุปออกมาให้เป็นภาษาของเรา และพยายามสรุปข้อมูลให้ครบถ้วนอีกด้วย

Tips: การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญ น้องควรจะมีการเรียบเรียงประเด็นต่าง ๆ ออกมาให้เราเข้าใจและพร้อมจะสื่อสารให้ได้มากที่สุด ควรจดโน๊ตระหว่างที่ฟัง ว่าเราเห็นและเข้าใจอะไร และยิ่งในพาร์ทสุดท้าย น้อง ๆ ควรพยายามหาคีย์เวิร์ดจากสิ่งที่ได้ยินด้วย 

รวมคะแนน CU-TEP ยื่นจุฬาอินเตอร์

TU-GET คืออะไร?
  • TU-GET (Thammasat University General English Test) คือการทดสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษทั่วไปเพื่อใช้ในการศึกษาต่อ 
  • ข้อสอบ TU-GET ออกโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Language Institute Thammasat University)
  • ข้อสอบ TU-GET จะมีอยู่ 2 แบบคือแบบกระดาษ (Paper-based) และแบบคอมพิวเตอร์ (Computer-based) แต่ทั้งสองรูปแบบมีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงลักษณะของการสอบและทักษะของการสอบที่มีจำนวนไม่เท่ากัน
  • ข้อสอบ TU-GET แบบ Paper-based (PBT) จะมีอยู่ด้วยกัน 3 พาร์ท คือ ไวยากรณ์และโครงสร้าง (Grammar & Structure) คำศัพท์ (Vocabulary) และ การอ่าน (Reading)
  • ข้อสอบ TU-GET แบบ Computer-based (CBT) จะมีอยู่ด้วยกัน 4 พาร์ท คือ การฟัง (Listening) การพูด (Speaking) การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing)
  • ผลการสอบของ TU-GET สามารถนำไปใช้ประกอบการศึกษาต่อทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติได้เกือบทุกคณะ ไม่ว่าจะเป็น 
    • Chulabhorn International College of Medicine (CICM)
    • BBA International Program, Thammasat Business School (BBA)
    • Bachelor of Arts Program in Journalism (BJM)
    • Sirindhorn International Institute of Technology (SIIT)
    • รวมถึงหลักสูตรภาษาไทยบางคณะ
การสมัครสอบ TU-GET (PBT)

ประกาศล่าสุดเรื่องการจัดสอบ TU-GET (PBT) จากทางสถาบันภาษา

1. เลื่อนการสอบ TU-GET (PBT) ครั้งที่ 9/2564 ในวันที่ 26 กันยายน 2564 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากประกาศขยายระยะเวลาล็อกดาวน์ตามสถานการณ์ COVID-19

2. ทางสถาบันภาษาจะส่ง Google Form ให้เลือกวันสอบที่สะดวก โดยจะแจ้งรายละเอียดทาง Facebook และเว็บไซต์อีกครั้ง

3. ในกรณีที่ไม่มาสอบตามวันที่เลือก จะถือว่าได้สละสิทธิ์การสอบครั้งนั้น

  • ศูนย์สอบ TU-GET มีเพียงที่เดียวเท่านั้น คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

น้องๆ หลายคนคงสงสัยถึงค่าสมัครสอบ TU-GET ราคาเท่าไหร่? เพราะมีหลายราคา ข้อมูลราคา TU-GET จะเป็นดังต่อไปนี้

  • ค่าธรรมเนียมการสอบ TU-GET (PBT) อยู่ที่ 500 บาท (หากสมัครสอบในวันที่ 1-15 ของทุกเดือน)
  • ค่าธรรมเนียมการสอบ TU-GET (PBT) อยู่ที่ 1,000 บาท (หากสมัครสอบในวันที่ 16-31 ของทุกเดือน)

 

ขั้นตอนการสมัครสอบ TU-GET (PBT)

  1. ลงทะเบียนออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบันภาษา 
  2. พิมพ์สลิปการชำระเงิน เพื่อนำไปชำระค่าธรรมเนียม
  3. ลงทะเบียนการสอบ TU-GET (PBT) ผ่านทางเว็บไซต์นี้
  4. นำสลิปที่พิมพ์ไว้ตอนลงทะเบียนไปชำระที่ธนาคารกสิกรไทยสาขาใกล้บ้าน
  5. ตรวจสอบหมายเลขประจำตัวการสอบ เวลาสอบ และสถานที่สอบผ่านเว็บไซต์ หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันสอบ ดังนั้นถ้าสมัครแล้วไม่รู้ว่า สอบเวลาไหน? TU-GET สอบที่ไหน? สามารถเช็คได้ที่เว็บไซต์ได้เลยค่ะ
  6. ให้น้อง ๆ ตรวจสอบผลการสอบผ่านทางเว็บไซต์หนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ทดสอบ
  7. ผลการสอบ TU-GET (PBT) แบบเอกสารจะถูกส่งไปตามที่อยู่ที่น้อง ๆ ลงทะเบียนไว้ ภายใน 2 อาทิตย์หลังจากวันสอบ
ภาพรวมการสอบ TU-GET (PBT)
  • TU-GET แบบ Paper-based (PBT) มีทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็มรวม 1000 คะแนน
  • ผลคะแนน TU-GET (PBT) จะมีอายุ 2 นับจากวันที่สอบ
  • ข้อสอบ TU-GET (PBT) จะดำเนินการสอบในเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง (ผู้เข้าสอบต้องบริหารเวลาเอง)
  • ข้อสอบ TU-GET (PBT) ประกอบไปด้วย 3 พาร์ท นั่นคือ
    • Grammar and Structure (ไวยากรณ์และโครงสร้างประโยค)
    • Vocabulary (คำศัพท์)
    • Reading (การอ่าน)

ทีนี้ เรามาเจาะลึกข้อสอบในแต่ละพาร์ทกันว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
 


TU-GET (PBT) Grammar and Structure

 

  • ข้อสอบมีทั้งหมด 25 ข้อ คิดเป็น 250 คะแนน (25%)
  • ข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
    • Error Identification เป็นการหาจุดผิดทางไวยากรณ์และโครงสร้างในประโยค โดยโจทย์จะขีดเส้นใต้คำมาให้ 4 คำ ผู้เข้าสอบข้อที่มีจุดผิดทางไวยากรณ์และโครงสร้าง (ลักษณะข้อสอบจะมีความคล้ายกับข้อสอบ CU-TEP Writing มาก)
    • Sentence Completion เป็นการนำคำที่อยู่ในคำตอบ 4 ข้อนั้นมาเลือกแทนลงในช่องว่างเพื่อทำให้ประโยคมีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และโครงสร้าง

 

TU-GET (PBT) Vocabulary 

 

  • ข้อสอบมีทั้งหมด 25 ข้อ คิดเป็น 250 คะแนน (25%)
  • ข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
    • Cloze Test มีทั้งหมด 13 ข้อ เป็นการเลือกนำเป็นการนำคำศัพท์ที่อยู่ในคำตอบ 4 ข้อนั้นมาเลือกแทนลงในช่องว่างเพื่อทำให้ประโยคมีความสมบูรณ์ถูกต้อง โดยคำศัพท์นั้นต้องมีความหมายตรงตามที่บริบทต้องการ 
      • Tips: การสอบแบบ Cloze Test ถือว่าเป็นรูปแบบการสอบที่มีตัวหลอกเยอะมาก ทั้งในด้านการสะกดคำที่หน้าตาคล้ายกัน แต่คนละความหมายกัน (Confused Words) อีกทั้งยังเป็นข้อสอบที่วัดเรื่องไวยากรณ์ในส่วนของประเภทของคำ (Parts of Speech) อีกด้วย ดังนั้นการที่น้อง ๆ มองออกว่าคำไหนคือคำประเภทอะไรจะช่วยให้น้อง ๆ พอเดาคำตอบได้ไม่ยาก
    • Synonyms มีทั้งหมด 12 ข้อ เป็นการเลือกนำเป็นการนำคำศัพท์ที่อยู่ในคำตอบ 4 ข้อนั้นมาเลือกแทนลงในช่องว่างเพื่อทำให้ประโยคมีความสมบูรณ์ถูกต้องเช่นกัน แต่ในส่วนนี้คำศัพท์ที่ต้องเลือกตอบจะต้องมีความหมายที่คล้ายคลึงกับบริบทมากที่สุด หรือใช้แทนกันได้เลย
      • Tips: การถามหาคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงถือว่าเป็นรูปแบบการสอบที่วัดคลังคำศัพท์ ซึ่งแน่นอนว่าการที่น้อง ๆ จะจำคำศัพท์ได้ทุกคำถือเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ แต่น้อง ๆ ต้องมีเทคนิคในการเดาคำศัพท์จากบริบทจึงจะสามารถมีแนวทางในการทำข้อสอบแบบนี้ได้ไม่ยากเย็นนัก

 

TU-GET (PBT) Reading 

 

  • ข้อสอบมีทั้งหมด 50 ข้อ คิดเป็น 500 คะแนน (50%)
  • ข้อสอบแบ่งออกเป็น 6 บทความ 
  • ในแต่ละบทความจะมีคำถามประมาณ 7-10 ข้อ
  • ความยาวของแต่ละบทความจะไม่เท่ากัน เฉลี่ยอยู่ที่ 500-750 คำ
  • ประเภทของบทความที่ออกบ่อย ๆ คือ
    • บทความแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ชีววิทยา สิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม
    • บทความวิจัยทางการแพทย์ 
    • บทความเกี่ยวกับประวัติศาตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม 
    • บทความด้านการท่องเที่ยว
    • บทความที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจต่าง ๆ
  • รูปแบบข้อสอบมักถามหาใจความสำคัญ (Main Idea) รายละเอียดบางอย่าง (Details) และให้ผู้เข้าสอบเดาความว่าคำศัพท์ หรือ pronoun บางคำ หมายถึงอะไร (Making Inference) เพื่อวัดความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ และวัดสกิลการอ่านจับใจความของผู้เข้าสอบ

Tips: รูปแบบข้อสอบ TU-GET (PBT) Reading นั้นมีความคล้ายคลึงกับ CU-TEP Reading เป็นอย่างมาก ดังนั้นหากน้อง ๆ ไม่มีเทคนิคดี ๆ ในการทำข้อสอบรูปแบบที่ต้องใช้การวิเคราะห์ (Critical Reading) อาจจะทำให้น้อง ๆ ได้คะแนนไม่เป็นไปตามเป้า ดังนั้นจึงแนะนำให้น้องพยายามฝึกทำข้อสอบ Reading ที่มีความใกล้เคียงกันจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้เยอะเข้าไว้ จะทำให้เราพอจะรู้แพทเทิร์นของข้อสอบ และสามารถจับประเด็นของคำถามต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

รวมคะแนน TU-GET ยื่นธรรมศาสตร์อินเตอร์

CU-TEP VS TU-GET (PBT)

 

สรุปประเด็นสำคัญ! ข้อสอบ CU-TEP และ TU-GET รูปแบบ Paper-based (PBT) มีความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ส่วน แต่ก็ยังมีความแตกต่างเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้อง ๆ ว่าต้องการจะใช้คะแนนการสอบไหน เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยอะไร วันนี้พี่แอดมินได้สรุปข้อแตกต่างของการสอบทั้งสองรูปแบบมาให้แล้ว!

  • TU-GET ไม่มีข้อสอบที่วัดการฟัง (Listening) แต่ CU-TEP มี
  • CU-TEP ไม่มีข้อสอบที่วัดเรื่องคำศัพท์โดยเฉพาะ แต่จะอยู่ในส่วนของ Reading เอง แต่ TU-GET มีข้อสอบที่วัดเรื่องคำศัพท์โดยเฉพาะ นั่นคือพาร์ท Vocabulary
  • ข้อสอบที่วัดเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างของทั้งคู่มีความคลึงกัน ต่างกันที่ TU-GET มีรูปแบบที่มากกว่า นั่นคือ Sentence Completion แต่ CU-TEP จะมีเพียงรูปแบบเดียว คือ Error Identification
  • ข้อสอบพาร์ท Reading ของ CU-TEP จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก TU-GET (PBT) เล็กน้อย นั่นคือจะมีพาร์ทที่เป็นการให้นำคำในคำตอบมาเลือกเติมเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ด้วย (Cloze Reading) แต่ TU-GET จะไม่มี
  • ข้อสอบ CU-TEP จะมีการกำหนดเวลาในการทำข้อสอบแต่ละพาร์ทชัดเจน
  • ข้อสอบ TU-GET จะไม่มีการกำหนดเวลาในการทำข้อสอบแต่ละพาร์ท ผู้เข้าสอบจะต้องบริหารเวลาเอง
เทียบคะแนน CU-TEP กับ CEFR


CEFR คืออะไร?

 

CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages) คือ มาตรฐานสากลที่ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสหภาพยุโรป (Council of Europe) เพื่อใช้ในการวัดระดับความรู้ความสามารถของผู้ใช้ภาษาอังกฤษ โดย CEFR แบ่งออกเป็น 6 ระดับไล่ขึ้นไปตั้งแต่ A1, A2, B1, B2, C1, C2 

 

CEFR ในแต่ละระดับสื่อถึงอะไร?

 

อ้างอิงจาก CEFR Descriptors for Language Proficiency

CEFR Level

รายละเอียด

C2 - Proficient

ถ้าอยู่ในระดับ C2 หมายความว่าน้อง ๆ เข้าใจในประโยคที่ได้อ่านและได้ฟังเกือบทั้งหมด และสามารถสรุปข้อมูลโดยการพูดหรือเขียนจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ สามารถนำเสนอเรื่องราวและแสดงความคิดเห็นทั้งในเชิงเห็นด้วยและขัดแย้งได้ สามารถพูดได้อย่างไม่ต้องเตรียมตัว และสามารถใช้ระดับภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

C1 - Proficient

ถ้าอยู่ในระดับ C1 หมายความว่าน้อง ๆ เข้าใจในประโยคยาว ๆ ได้ และสามารถสื่อสารออกมาได้โดยที่ไม่ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวมากนัก สามารถใช้ภาษาอังกฤษในจุดประสงค์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว มีการใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดีมาก

B2 - Intermediate

ถ้าอยู่ในระดับ B2 หมายความว่าน้อง ๆ สามารถเข้าใจและระบุถึงใจความสำคัญของเนื้อหาภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนได้ สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษได้แบบไม่ติดขัด และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี

B1 - Intermediate

ถ้าอยู่ในระดับ B1 หมายความว่าน้อง ๆ เข้าใจประเด็นหลักในการอ่านและการสนทนา สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้ สามารถอธิบายถึงสิ่งที่น้อง ๆ เคยมีประสบการณ์หรือมีความสนใจให้กับคนอื่นได้

A2 - Beginner

ถ้าอยู่ในระดับ A2 หมายความว่าน้อง ๆ สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วไป เช่น การถามทาง การทักทาย การอธิบายรายละเอียดตามที่ตัวเองเข้าใจได้

A1 - Beginner

ถ้าอยู่ในระดับ A1 หมายความว่าน้อง ๆ สามารถเข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตได้ สามารถแนะนตัว และสนทนาเป็นภาษาอังกฤษในบริบทง่าย ๆ ได้ และสามารถพูดคุยได้อย่างต่อเนื่องหากผู้พูดอีกฝ่ายสามารถพูดช้า ๆ และชัดเจน

ทำไมต้องติวกับเรา?

ถ้าถามว่า CU-TEP ยากไหม? TU-GET ยากไหม? สามารถตอบได้เลยว่าไม่ยาก ถ้าได้เรียน CU-TEP และ เรียน TU-GET กับเรา เพราะคอร์สของเรานั้นสอนโดยครูเจี๊ยบ (นันลินี ปานเทศ) และครูนก (นวิยา พงษ์จรัสพันธ์) ติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสอบ โดยเฉพาะ CU-TEP และ TU-GET การันตีด้วยประสบการณ์หลายสิบปี และความสำเร็จของผู้เรียนหลายร้อยคน

 

คอร์สติว CU-TEP & TU-GET โดยครูนกครูเจี๊ยบ คือ คอร์สติวที่ถูกออกแบบมาเพื่อผู้เรียนทุกคน ถ้าไม่มีพื้นฐาน เราปูพื้นฐานให้ตั้งแต่แน่น ๆ ถ้าไม่ชัวร์ในการตอบ เรามีเทคนิคให้ตอบได้อย่างมั่นใจ มองรอบเดียวดูออกว่าข้อไหนคือข้อหลอก เตรียมสอบ CU-TEP และ เตรียมสอบ TU-GET ให้แบบจัดเต็ม พร้อมพาตะลุยข้อสอบเสมือนจริง!
 

พื้นฐาน Grammar ไม่แน่น เนื้อหาเยอะ จำได้ไม่หมด ทำยังไงดี? 

คอร์ส Grammar & Structure / Writing ของเรา สรุปกฎแกรมม่า 14 ข้อต้องรู้ สำหรับการสอบ CU-TEP โดยเฉพาะ! ถ้าเราไม่เป๊ะแกรมม่า ก็หา Error ไม่เจอแน่นอน แต่ไม่ต้องเครียดไป ครูเจี๊ยบจัดให้ ปูพื้นฐานให้แน่น มองปราดเดียวรู้เลยว่าจุดไหนผิดไวยากรณ์

 

จับประเด็นไม่ได้ กลัวทำไม่ทัน หาใจความสำคัญไม่เจอ ทำยังไงดี?  

Reading พาร์ทนี้ครูนกมีเทคนิคจัดเต็ม หมดปัญหาทำข้อสอบไม่ทัน ไม่รู้ว่าจะกาข้อไหน ครูนกสอนให้ มองข้อสอบได้ไว หาคีย์เวิร์ดได้ตรงจุดแน่นอน พร้อมเทคนิคการ take note ฉบับครูนก โน้ตแล้วจำ Passage ได้ ย้อนกลับมาดูแล้วตอบได้เลย

 

ฟังไม่ออก ฟังทันแต่จับใจความไม่ได้ ทำยังไงดี?

Listening รวมเทคนิคการฟัง จับประเด็นได้ถูก หาคำตอบได้แม่น หวังคะแนนเต็มได้เลย 

 

พูดไม่เก่ง เข้าใจคำถาม แต่ไม่รู้จะตอบว่าอะไร ทำยังไงดี?

Speaking ข้อสอบพูดที่ใคร ๆ ก็ว่ายาก จะไม่ยากอีกต่อไป ด้วย Speaking Model ที่เข้าใจง่าย คว้าคะแนนสูงตามเป้าได้แน่นอน!

 

ไม่มีเวลาท่องศัพท์ คลังศัพท์ไม่เยอะ แปลศัพท์ไม่ออก ทำยังไงดี?

หมดปัญหาคลังศัพท์น้อยจำศัพท์ไม่ได้ด้วย “เพลงช่วยจำ” ทำให้การจำศัพท์ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป ที่ทั้งจำง่ายซ้ำยังลดเวลาในการทำข้อสอบอีกด้วย

 

เรียนก็หนัก การบ้านเยอะ เวลาเตรียมสอบน้อย ทำยังไงดี?

ครูเจี๊ยบกับครูนกคัดเนื้อหามาให้แล้วแบบเน้น ๆ ประหยัดเวลากว่าอ่านเองแน่นอน ไม่หลงประเด็น มีแต่เนื้อ ไม่มีน้ำ!

 

ฝึกพูดเอง ไม่มีคนช่วยไกด์แนวทาง ทำยังไงดี?

พร้อมการตรวจการบ้าน CU-TEP Speaking ฟรีทุกคอร์ส โดย Native Speaker พร้อม Feedback จุดแข็ง ชี้จุดผิดที่ต้องปรับแก้!

 

อ่านเองไม่เข้าใจ ไม่มีคนอธิบายให้ฟัง แถมไม่รู้แนวข้อสอบ ทำยังไงดี?

ตะลุยข้อสอบ CU-TEP & TU-GET แบบแน่น ๆ เสมือนจริงละเอียดยิบ พาทำทุกพาร์ท พร้อมสอดแทรกเทคนิคระหว่างทำทุกข้อ เรียนจบคอร์สพร้อมลุยสนามจริงได้เลย! BBA จุฬา จุฬาอินเตอร์ หรือ คณะอินเตอร์จุฬา ธรรมศาสตร์ อื่น ๆ รับรองว่าไม่ใช่แค่ฝันแน่นอน

 

การเข้าเรียนที่จุฬา-ธรรมศาสตร์จะไม่ใช่แค่ความฝันอีกต่อไป 

ครูนกครูเจี๊ยบติวให้ พร้อมมุ่งสู่เส้นชัยไปด้วยกัน!

 

คอร์สเรียนแนะนำ

ข่าว/เทคนิคแนะนำ

คอร์สเรียนแนะนำ

ตัวอย่างข้อสอบแนะนำ