ทำไมตอนแก้(อ)สมการจึงตัดตัวแปรไม่ได้
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมตอนแก้สมการ x2=x
เราจึงไม่สามารถตัด x ทั้งสองข้าง ให้เหลือ x=1
แล้วได้คำตอบเลย แต่กลับต้องแก้สมการโดยการแยกตัวประกอบ
x2−x=0x(x−1)=0x=0,1
ซึ่งได้คำตอบ 2 ค่า คือ 0 กับ 1
ถ้ายังไม่รู้ พี่มีคำตอบมาให้ครับ การตัด x ทั้งสองข้าง แท้จริงแล้วคือการ "หารด้วย x ทั้งสองข้าง" ดังนี้
x2x=xxx=1
แต่สังเกตคำตอบ 2 ค่าที่ได้สิครับ x=0,1 หมายความว่า x อาจเป็น 0 ได้
ถ้า x=0 แล้วเรานำ x ไปหารทั้งสองข้าง ก็เท่ากับว่าเรานำ 0 ไปหารทั้งสองข้าง แต่การหารด้วย 0 มันหารไม่ได้ใช่ไหมครับ นี่คือเหตุที่ว่าทำไมเราจึงไม่สามารถตัดตัวแปรตอนแก้สมการหรืออสมการ
ใช่ว่าจะตัดตัวแปรไม่ได้เสมอไป
จริงๆ บางกรณีก็สามารถตัดตัวแปรได้นะครับ และยังช่วยให้การแก้(อ)สมการ ง่ายขึ้นเยอะเลย แต่กรณีที่ว่าเราต้องมั่นใจก่อนว่าสิ่งที่เราจะตัด ไม่มีทางเป็น 0 แน่นอน ดูได้จากหลายๆ เงื่อนไข เช่น
1. เอกภพสัมพัทธ์
หากพิจารณาแล้วว่าเอกภพสัมพัทธ์ของเราไม่ทำให้สิ่งที่เราจะตัดเป็น 0 แน่นอน ก็ตัดได้เลยครับ
ตัวอย่างการพิจารณาเอกภพสัมพัทธ์
กำหนดให้ x เป็นจำนวนจริงบวก จงหาคำตอบของสมการ x2=2x
จากสมการ สิ่งที่เราต้องการตัดคือ x ทั้งสองข้าง
แต่เอกภพสัมพัทธ์บอกว่า x เป็นจำนวนจริงบวก คือ x>0 แสดงว่าไม่มีทางเป็น 0 แน่ แบบนี้เราตัดได้เลย
x2=2xx2x=2xx=2
x=2
จงหาคำตอบของอสมการ x√x−2>x
สังเกตว่า สิ่งที่อยู่ในสแควรูทต้องไม่ติดลบ แสดงว่า
x−2≥0x≥2
มั่นใจได้ว่า x ไม่เป็น 0 แน่ เราสามารถตัด x ได้เลย
x√x−2>x√x−2>1x−2>1x>3
x>3
2. สิ่งที่จะตัดเป็นตัวส่วน
เราจำกันได้อย่างฝังใจว่าตัวส่วนห้ามเป็น 0 แน่นอนครับ เมื่อไม่เป็น 0 เราก็สามารถตัดได้เช่นกัน
ตัวอย่างการตัดตัวแปรที่เป็นตัวส่วน
จงหาคำตอบของอสมการ 1x+1>2x−6x2−x−6
เราแยกตัวประกอบฝั่งขวามือ
1x+1>2x−6x2−x−61x+1>2(x−3)(x+2)(x−3)
เราได้เงื่อนไขคือ x≠−2,3 เพราะตัวส่วนห้ามเป็น 0
สังเกตว่าทางขวามี x−3 เหมือนกัน แต่ x−3≠0 แน่ๆ เพราะเป็นตัวส่วน เราจึงตัดได้
1x+1>2(x−3)(x+2)(x−3)1x+1>2x+2
จากนั้นเราแก้อสมการต่อตามปกติได้เลย
1x+1−2x+2>0(x+2)−2(x+1)(x+1)(x+2)>0x+2−2x−2(x+1)(x+2)>0−x(x+1)(x+2)>0
จัดรูปโดยคูณ −1 ทั้งสองข้าง ให้สัมประสิทธิ์ของ x เป็นบวก เพื่อใช้เทคนิคบวก-ลบ-บวก
(−1)⋅−x(x+1)(x+2)<(−1)⋅0x(x+1)(x+2)<0
ได้เส้นจำนวน
x∈(−∞,−2)∪(−1,0)
ในกรณีของตัวส่วน ต้องระวังเงื่อนไขแต่แรกด้วย คือ x≠−2,3 ในข้อนี้โชคดีที่เครื่องสมการไม่มีขีดเท่ากับอยู่แล้ว และ 3 ก็ไม่ได้อยู่ในคำตอบอยู่แล้ว จึงไม่กระทบอะไร
สุดท้ายแล้ว เทคนิคเหล่านี้อาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น เพราะต่อให้ไม่รู้เทคนิคก็สามารถหาคำตอบของ(อ)สมการได้ แต่เทคนิคนี้ช่วยเราได้ในกรณีที่ต้องแข่งกับเวลา โดยเฉพาะในการสอบ เพราะบางครั้งการหาคำตอบตรงๆ อาจทำให้เราทำข้อสอบได้ไม่ทันเวลา สิ่งสำคัญที่สุดที่ช่วยให้เราใช้เทคนิคได้อย่างเป็นประโยชน์ก็คือการใช้อย่างเข้าใจ และฝึกฝนการใช้งานเยอะๆ ครับ