ในการเก็บรวมรวมข้อมูล แต่ละคนที่เก็บรวบรวมข้อมูลมีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือ บางคนอาจจะเก็บข้อมูลเป็นตัว ๆ ไม่มีการจัดหมวดหมู่ หรือ บางคนอาจจะมีการจัดเรียงข้อมูลเป็นหมวดหมู่เรียบร้อยแล้ว เราจึงแยกการจัดเก็บข้อมูลเป็น 2 แบบ คือ ข้อมูลไม่แจกแจงความถี่ และ ข้อมูลแจกแจงความถี่
ข้อมูลไม่แจกแจงความถี่
ข้อมูลไม่แจกแจงความถี่เป็นข้อมูลที่จะต้องมาเป็นตัว ๆ บอกได้ทันทีว่าตัวไหนมีค่าเป็นเท่าใด เช่น ข้อมูลคือ 1,1,5,7,8,11,15 มีข้อมูล 7 ตัว โดยที่บอกได้ทันทีว่าตัวที่ 5 มีค่าเป็น 8 เป็นต้น
ข้อมูลแจกแจงความถี่
ข้อมูลแจกแจงความถี่จะเป็นข้อมูลที่มีการแบ่งเป็นช่วง ๆ ไม่สามารถบอกได้ว่าแต่ละตัวมีค่าเท่าใด เช่น
คะแนน |
จำนวน |
---|---|
21−30 | 5 |
31−40 | 2 |
จะไม่สามารถบอกได้ว่าคนที่ 3 ได้คะแนนเป็นเท่าไหร่กันแน่ อาจจะได้ 25 หรือ 27 หรือ 23 หรือค่าอื่นๆ ในช่วง 21−30 และข้อมูลแบบแจกแจงความถี่นั้นมักจะเขียนมาในรูปแบบตารางเสมอ
แต่ตารางแจกแจงความถี่บางประเภทอาจจะไม่ได้เขียนอยู่ในรูปแบบช่วง เช่น
คะแนน | จำนวน |
---|---|
15 | 2 |
20 | 5 |
25 | 7 |
ตารางนี้เป็นตารางแจกแจงความถี่แต่สามารถบอกได้ทันทีว่าคนที่ 6 ได้ 20 คะแนน รวมทั้งคนอื่น ๆ ก็สามารถบอกได้ทันทีเหมือนกันว่าได้คะแนนเท่าใด ดังนั้นเวลาคำนวนค่าต่าง ๆ ให้คำนวนเหมือนกับข้อมูลไม่แจกแจงความถี่
ตารางแจกแจงความถี่
เมื่อเรารู้จักข้อมูลแจกแจงความถี่แล้ว เราจะต้องมาทำความเข้าใจกับตารางแจกแจงความถี่ด้วย ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องรู้มีดังนี้
จากตารางการแจกแจงความถี่ต่อไปนี้
คะแนน | จำนวน นักเรียน |
---|---|
21−30 | 2 |
31−40 | 5 |
41−50 | 10 |
51−60 | 13 |
61−70 | 5 |
1. อันตรภาคชั้น คือ แต่ละช่วงที่เห็นในตาราง เช่น ช่วง 21−30 เป็นช่วงแรก ดังนั้นช่วงนี้ถือเป็นอันตรภาคชั้นที่ 1 ในทำนองเดียวกันจะได้ว่าตารางนี้มีทั้งหมด 5 อันตรภาคชั้น
2. ขอบบน - ขอบล่าง ในการหาขอบบนและขอบล่างของแต่ละชั้นนั้นหาได้ดังนี้
ขอบล่าง=ค่าน้อยสุดของชั้นนั้น+ค่ามากสุดของชั้นก่อนหน้า2ขอบบน=ค่ามากสุดของชั้นนั้น+ค่าน้อยสุดของชั้นถัดไป2
เช่น
ขอบล่างของอันตรภาคชั้นที่ 3 คือ 41+402=40.5
และ ขอบบนของอันตรภาคชั้นที่ 3 คือ 50+512=50.5
แต่ปัญหาคือจะหาขอบล่างของอันตรภาคชั้นที่ 1 ได้ยังไง วิธีการคือให้เราสมมุติชั้นที่อยู่ก่อนชั้นที่ 1 ขึ้นมา แต่การสมมุตินั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกับชั้นอื่น ๆ ในกรณีนี้ชั้นที่ 0 คือ 11−20 หลังจากนั้นก็ใช้วิธีเดิมได้เลย
ทำนองเดียวกันเราสามารถหาขอบบนของอันตรภาคชั้นที่ 5 ด้วยวิธีการเดียวกัน
3. ความกว้างอัตรภาคชั้น คือ
ความกว้างอันตรภาคชั้น=ขอบบน−ขอบล่าง
ดังนั้นในตัวอย่างนี้ความกว้างอันตรภาคชั้นที่ 3 คือ 50.5−40.5=10
4. จุดกึ่งกลางของอันตรภาคชั้น คือ
จุดกึ่งกลางของอันตรภาคชั้น=ขอบบน+ขอบล่าง2
เช่น จุดกึ่งกลางชั้นของอันตรภาคที่ 3 คือ 50.5+40.52=45.5
5. ความถี่ คือ จำนวนของสิ่งที่เราสนใจที่อยู่ในแต่ละชั้น ในกรณีนี้คือจำนวนนักเรียนในแต่ละชั้น ดังนั้น ความถี่ในชั้นที่ 3 (f3) คือ 10
คะแนน | จำนวน นักเรียน |
---|---|
21−30 | 2 |
31−40 | 5 |
41−50 | 10 |
51−60 | 13 |
61−70 | 5 |
6. ความถี่สะสมของแต่ละชั้น คือ จำนวนของสิ่งที่เราสนใจที่รวมมาตั้งแต่ชั้นแรกจนถึงชั้นนั้น ดังนั้น ความถี่สะสมในชั้นที่ 3 (F3) คือ 2+5+10=17
คะแนน | จำนวน นักเรียน |
ความถี่สะสม (Fi) |
---|---|---|
21−30 | 2 | 2 |
31−40 | 5 | 7 |
41−50 | 10 | 17 |
51−60 | 13 | 30 |
61−70 | 5 | 35 |
สูตรต่าง ๆ ของตารางแจกแจงความถี่นั้นเป็นสูตรที่จะใช้ได้ต้องเรียงจากชั้นที่มีค่าน้อยที่สุดไปมากที่สุด เพราะฉนั้นอย่าลืมตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลที่ให้มาเรียงถูกต้องแล้วหรือยัง
ตารางแจกแจงความถี่ที่เรียงจากค่ามากไปค่าน้อย
สมมุติข้อมูลที่กำหนดให้คือ
คะแนน |
จำนวน |
---|---|
51−55 | 5 |
46−50 | 13 |
41−45 | 10 |
36−40 | 5 |
31−35 | 2 |
เมื่อเจอข้อมูลที่เรียงจากมากไปน้อย ปกติเราจะนับอันตรภาคชั้นจากชั้นบนสุดมาล่างสุด ให้เปลี่ยนเป็นนับจากชั้นล่างสุดมาบนสุด แล้วชั้นไหนอยู่ก่อนหรือหลังให้ใช้หลักเกณฑ์จากอันตรภาคชั้น นั่นคือ อันตรภาคชั้นที่ 1 อยู่ก่อนอันตรภาคชั้นที่ 2 และอันตรภาคชั้นที่ 3 อยู่หลังอันตรภาคชั้นที่ 2 จะได้
คะแนน |
จำนวน |
อันตรภาค ชั้นที่ |
ขอบล่าง | ขอบบน |
---|---|---|---|---|
51−55 | 5 | 5 | 51+502=50.5 | 55+562=55.5 |
46−50 | 13 | 4 | 45.5 | 50.5 |
41−45 | 10 | 3 | 40.5 |
45.5 |
36−40 | 5 | 2 | 35.5 | 40.5 |
31−35 | 2 | 1 | 30.5 | 35.5 |
คะแนน |
จำนวน |
ความกว้าง I |
จุดกึ่งกลาง xi |
ความถี่สะสม Fi |
---|---|---|---|---|
51−55 | 5 | 55.5−50.5=5 | 55.5+50.52=53 |
5 |
46−50 | 13 | 5 | 48 | 5+13=18 |
41−45 | 10 | 5 | 43 | 28 |
36−40 | 5 | 5 | 38 | 33 |
31−35 | 2 | 5 | 33 | 35 |