อนุพันธ์อันดับสูง
ในการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันที่ผ่านมา จะพบว่า f′(x) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ f(x) นั้นยังคงเป็นฟังก์ชันที่สามารถหาอนุพันธ์ได้ที่ x นั่นหมายความว่าเราสามารถหาอนุพันธ์ของ f′(x) ได้อีก ซึ่งเราเรียกอนุพันธ์ของ f′(x) ที่ x ว่า อนุพันธ์อันดับที่ 2 ของ f เขียนแทนด้วย f″(x) ดังนิยามต่อไปนี้
บทนิยาม: ให้ f เป็นฟังก์ชันที่สามารถหาอนุพันธ์ได้ และ f′(x) เป็นอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f ที่ x ซึ่งสามารถหาอนุพันธ์ได้ จะเรียกอนุพันธ์ของอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f ที่ x หรืออนุพันธ์ของฟังก์ชัน f′ ที่ x ว่า อนุพันธ์อันดับที่ 2 ของ f ที่ x และเขียนแทนด้วย f″(x)
นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนอนุพันธ์อันดับที่ 2 ของ f ที่ x อีก เช่น d2ydx2,d2dx2f(x) และ y″ เป็นต้น
ตัวอย่างการหาอนุพันธ์อันดับที่ 2
ตัวอย่างที่ 1
กำหนด f(x)=5x3+6x2+2x−3 จงหา f″(x)
f′(x)=5(3x2)+6(2x)+2−0=15x2+12x+2
จะได้ f′(x)=15x2+12x+2
f″(x)=15(2x)+12+0=30x+12
f″(x)=30x+12
ตัวอย่างที่ 2
กำหนด f(x)=x2+2−2x จงหา f″(x)
f(x)=x2+2−2x−1
f′(x)=2x+0−2(−1)x−2=2x+2x2
จะได้ f′(x)=2x+2x2
f″(x)=2+(−2)(2x−3)=2−4x3
f″(x)=2−4x3
ตัวอย่างที่ 3
กำหนด f(x)=(x4−2)5 จงหา f″(1)
ข้อนี้ต้องใช้กฎลูกโซ่ หรือการดิฟไส้
f′(x)=5(x4−2)4(4x3)=20x3(x4−2)4
จะได้ f′(x)=20x3(x4−2)4 ซึ่งต้องใช้สูตรดิฟผลคูณ
f″(x)=20x3[4(x4−2)3(4x3)]+(x4−2)4(60x2)=320x6(x4−2)3+60x2(x4−2)4
ดังนั้น
f″(1)=320(1)6((1)4−2)3+60(1)2((1)4−2)4=320(−1)3+60(−1)4=−320+60=−260
f″(1)=−260
ในทำนองเดียวกัน ฟังก์ชัน f″(x) ที่ได้จากการหาอนุพันธ์อันดับที่ 2 ยังคงเป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้อีก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการการหาอนุพันธ์ของ f″(x) เราเรียกว่า อนุพันธ์อันดับที่ 3 ของ f ใช้สัญลักษณ์ f‴(x) และสามารถหาอนุพันธ์ต่อไปได้เรื่อยๆ เป็นอนุพันธ์อันดับที่ 4, 5, 6, ..., n ใช้สัญลักษณ์ดังนี้
f‴(x) หรือ d3ydx3 แทนอนุพันธ์อันดับที่ 3 ของ f ที่ x
f(4)(x) หรือ d4ydx4 แทนอนุพันธ์อันดับที่ 4 ของ f ที่ x
⋮ ⋮ ⋮
f(n)(x) หรือ dnydxn แทนอนุพันธ์อันดับที่ n ของ f ที่ x
ตั้งแต่อนุพันธ์อันดับที่ 4 ขึ้นไป จะใช้สัญลักษณ์เป็น f(n)(x) เมื่อ n แทนอันดับ ไม่ใช้ตัว ′ (prime) เพราะจะยาวเกินไปครับ
ตัวอย่างการหาอนุพันธ์อันดับที่ n
ตัวอย่างที่ 4
จงหาอนุพันธ์อันดับที่ 4 ของ f(x)=5x4+2x3−x+2
f′(x)=5(4x3)+2(3x2)−1+0=20x3+6x2−1f″(x)=20(3x2)+6(2x)−0=60x2+12xf‴(x)=60(2x)+12=120x+12f(4)(x)=120
f(4)(x)=120
ตัวอย่างที่ 5
จงหาอนุพันธ์อันดับที่ 3 ของ f(x)=6x4
f(x)=6x−4
f′(x)=6(−4x−5)=−24x−5f″(x)=−24(−5x−6)=120x−6f‴(x)=120(−6x−7)=−720x−7
f‴(x)=−720x7
ตัวอย่างที่ 6
กำหนด f(x)=(5x2−3)(7x3+x) จงหา f″(−1)
ในข้อนี้เราสามารถกระจายให้อยู่ในรูปพหุนามก่อนก็ได้ แต่ในที่นี้ขอใช้การดิฟผลคูณนะครับ
f′(x)=(5x2−3)(7(3x2)+1)+(7x3+x)(5(2x)−0)=(5x2−3)(21x2+1)+(7x3+x)(10x)=(5x2−3)(21x2+1)+(70x4+10x2)f″(x)=(5x2−3)(21(2x)+0)+(21x2+1)(5(2x)−0)+70(4x3)+10(2x)=(5x2−3)(42x)+(21x2+1)(10x)+280x3+20x=210x3−126x+210x3+10x+280x3+20x=700x3−96x
ดังนั้น
f″(−1)=700(−1)3−96(−1)=−700+96=−604
f″(−1)=−604
ตัวอย่างที่ 7
กำหนด f(x)=3x4−2x+√x−5 จงหา f‴(1)
f(x)=3x4−2x+x12−5
f′(x)=3(4x3)−2+12x−12−0=12x3−2+12x−12f″(x)=12(3x2)−0+(12)(−12)x−32=36x2−14x−32f‴(x)=36(2x)−(14)(−32)x−52=72x+38x−52
ดังนั้น
f‴(1)=72(1)+38(1)−52=72+38=5798
f‴(1)=5798