บวก-ลบ-บวก คืออะไร ใช้อย่างไร
บวก-ลบ-บวก เป็นคำพูดติดหูใครหลายๆ คน ที่มักผุดขึ้นมาในความคิดเมื่อต้องแก้อสมการ แต่ก็มีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าจริงแล้วเทคนิคนี้ใช้อย่างไร และใช้ผิดพลาดไปบ่อยครั้ง เรามาดูวิธีการใช้ที่ถูกต้องกันดีกว่า
ตัวอย่างอสมการง่ายๆ อย่าง
$$x^2 - 8x + 15 \leq 0$$
วิธีแก้อสมการไม่ได้ยากอะไร แค่แยกตัวประกอบเป็น
$$(x-3)(x-5) \leq 0$$
แล้วนำ $x = 3$ กับ $x=5$ ไปใส่ในเส้นจำนวน ได้เป็น
ใช้จุดทึบเพราะเครื่องหมายมีขีดเท่ากับ
พอถึงขั้นนี้ คำว่า บวก-ลบ-บวก จะดังขึ้นในหัวอย่างอัตโนมัติ ว่าแต่ มันคืออะไร
บวก-ลบ-บวก ที่ว่าก็คือแบบนี้ไง
อสมการในข้อนี้เป็นเครื่องหมาย $\leq 0$ เราจึงเลือก "ลบ" ได้คำตอบเป็น
คำตอบของอสมการคือ $x \in [3, 5]$
พหุนามดีกรีมากกว่า 2 ก็ใช้ได้
ถ้าเทคนิค บวก-ลบ-บวก ใช้ได้แค่นี้ก็คงจะดูไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก อันที่จริงกับอสมการพหุนามดีกรีมากกว่า $2$ ก็ใช้ได้ เช่นอสมการ
$$x^3 - 2x^2 - x + 2 < 0$$
เราแยกตัวประกอบพหุนามได้เป็น
$$(x+1)(x-1)(x-2) < 0$$
ก็นำ $x = -1, x=1$ และ $x=2$ ไปใส่ในเส้นจำนวนตามปกติ
ใช้จุดโปร่งเพราะเครื่องหมายไม่มีขีดเท่ากับ
คราวนี้มี $4$ ช่อง จะ บวก-ลบ-บวก ก็คงไม่ครบ แต่รู้ไหมว่าที่จริงแล้วเทคนิคนี้คือ
การใส่ บวก-ลบ-บวก-ลบ-บวก-... สลับกันไปเรื่อยๆ จนครบช่อง โดยเริ่มจากทางขวาสุด
เราจึงได้เส้นจำนวน
ในทำนองเดียวกัน อสมการมีเครื่องหมาย $<0$ จึงเลือกช่วงลบ ได้คำตอบเป็น
คำตอบของอสมการคือ $x\in (-\infty, -1) \cup (1, 2)$
เงื่อนไขของการใช้ บวก-ลบ-บวก
สิ่งที่ต้องระวังในการใช้เทคนิคนี้คือ เมื่อแยกตัวประกอบแล้ว สัมประสิทธิ์หน้า $x$ ในทุกๆ วงเล็บ จะต้องเป็นบวก หารมีสัมประสิทธิ์ที่เป็นลบมา ตอนใส่เครื่องหมายในเส้นจำนวนจะต้องเริ่มด้วยลบ เป็น ลบ-บวก-ลบ-บวก-... ไปเรื่อยๆ เช่น
$$(x+1)(1-x)(x-2) > 0$$
เรายังคงใส่ $x=-1, x=1$ และ $x=2$ ลงในเส้นจำนวนเหมือนเดิม แต่สังเกตว่าในวงเล็บกลาง $(1-x)$ สัมประสิทธิ์หน้า $x$ คือ $-1$ เราจึงต้องเริ่มด้วยเครื่องหมายลบ ดังนี้
แล้วเครื่องหมายของอสมการคือ $>0$ เราจึงเลือกช่วงบวก กลายเป็น
หากเรายังใช้เครื่องหมายเป็น บวก-ลบ-บวก-... จะได้คำตอบที่ผิด
บวก-ลบ-บวก อย่างไรให้ไม่นก
การสังเกตสัมประสิทธิ์หน้า $x$ ก่อนใส่เครื่องหมาย อาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากมีวงเล็บหลายๆ วงเล็บ และมีสัมประสิทธิ์ที่ติดลบหลายตัว อาจทำให้เราสับสนได้
วิธีการที่ง่ายที่สุดเพื่อป้องกันการพลาดคือ ทำสัมประสิทธิ์ให้เป็นบวกเสียก่อน แล้วค่อยใช้ บวก-ลบ-บวก-... เหมือนเดิม
เช่นอสมการจากขั้นที่แล้ว
$$(x+1)(1-x)(x-2) > 0$$
เราคูณด้วย $-1$ ทั้งสองข้าง (อย่าลืมกลับเครื่องหมาย) แล้วกระจาย $-1$ เข้าในวงเล็บกลางซะ
\begin{eqnarray*}
(-1)(x+1)(1-x)(x-2) &<& (-1)0\\
(x+1)(-1+x)(x-2) &<& 0\\
(x+1)(x-1)(x-2) &<& 0
\end{eqnarray*}
แค่นี้ก็สามารถใช้ บวก-ลบ-บวก-... ได้เหมือนเดิมแล้ว
และไม่ว่าจะมีสัมประสิทธิ์ติดลบกี่ตัว ก็แค่คูณด้วย $-1$ ตามจำนวนเข้าไปก็เรียบร้อย สบายๆ ไม่นก!!!