สมการค่าสัมบูรณ์
กำหนดให้ a≥0 จากสมการ |x|=a จะได้ x=±a
ตัวอย่างการแก้สมการค่าสัมบูรณ์
|x−5|=3
เราจะได้ว่า x−5=3 หรือ x−5=−3
นั่นคือ x=8 หรือ x=2
x=2,8
|x−2|=3x+2
เราจะได้ว่า x−2=3x+2 หรือ x−2=−(3x+2)
แก้ x−2=3x+2 จะได้
x−2=3x+2−2−2=3x−x−4=2x−2=x
แต่ถ้า x=−2 แล้ว 3x+2=3(−2)+2=−4 ซึ่งจะได้ว่าค่าสัมบูรณ์ = ติดลบ เป็นไปไม่ได้
ดังนั้น −2 ไม่ใช่คำตอบ
แก้ x−2=−(3x+2) จะได้
x−2=−3x−2x+3x=−2+24x=0x=0
ถ้า x=0 จะได้ว่า 3x+2=3(0)+2=2 ซึ่งเป็นบวก สามารถใช้ได้
x=0
สิ่งสำคัญในการแก้สมการค่าสัมบูรณ์กรณีที่มีข้างหนึ่งเป็นค่าสัมบูรณ์ อีกข้างหนึ่งไม่เป็นค่าสัมบูรณ์ คือต้องตรวจคำตอบให้ดีว่า ถ้านำค่า x ที่หาได้ ไปแทนค่าในฝั่งที่ไม่เป็นค่าสัมบูรณ์แล้ว จะติดลบหรือไม่ ถ้าติดลบคำตอบนั้นก็ใช้ไม่ได้
สมการค่าสัมบูรณ์ซ้อน
เราจะใช้วิธีถอดค่าสัมบูรณ์ทีละชั้น
ตัวอย่างการแก้สมการค่าสัมบูรณ์ซ้อน
||4x−1|+3|=10
ถอดค่าสัมบูรณ์นอกสุด จะได้
|4x−1|+3=10|4x−1|=7 |
หรือ | |4x−1|+3=−10|4x−1|=−13 |
แต่ |4x−1|=−13 เป็นไปไม่ได้ จึงไม่ต้องแก้ต่อ
แก้ |4x−1|=7
ถอดค่าสัมบูรณ์ จะได้ 4x−1=7 หรือ 4x−1=−7
4x−1=74x=8x=2
หรือ
4x−1=−74x=−6x=−64x=−32
x=−32,2
อสมการค่าสัมบูรณ์
กำหนดให้ a>0
ถ้า |x|<a จะได้ −a<x<a
ถ้า |x|≤a จะได้ −a≤x≤a
ถ้า |x|>a จะได้ x>a หรือ x<−a
ถ้า |x|≥a จะได้ x≥a หรือ x≤−a
ตัวอย่างการแก้อสมการค่าสัมบูรณ์
|x−2|<7
จะได้ว่า
−7<x−2<7−7+2<x<7+2−5<x<9
x∈(−5,9)
|3−2x2+x|≥4
จะได้ว่า 3−2x2+x≥4 หรือ 3−2x2+x≤−4
แก้อสมการ 3−2x2+x≥4
คูณ (2+x)2 ทั้งสองข้าง
(2+x)2(3−2x2+x)≥(2+x)2(4)(2+x)(3−2x)≥4(2+x)2(2+x)(3−2x)−4(2+x)2≥0
ดึงตัวร่วม 2+x จะได้
(2+x)[(3−2x)−4(2+x)]≥0(2+x)(3−2x−8−4x)≥0(x+2)(−6x−5)≥0
นำ −1 คูณทั้งสองข้างเพื่อคูณเข้าในวงเล็บ (−6x−5)
(−1)(x+2)(−6x−5)≤(−1)(0)(x+2)(6x+5)≤0
จะได้
ที่จุด x=−2 เป็นจุดโปร่ง เพราะถ้า x=−2 จะทำให้ส่วนเป็น 0
แก้อสมการ 3−2x2+x≤−4
คูณ (2+x)2 ทั้งสองข้าง
(2+x)2(3−2x2+x)≤(2+x)2(−4)(2+x)(3−2x)≤−4(2+x)2(2+x)(3−2x)+4(2+x)2≤0
ดึงตัวร่วม 2+x จะได้
(2+x)[(3−2x)+4(2+x)]≤0(2+x)(3−2x+8+4x)≤0(x+2)(2x+11)≤0
จะได้
นำคำตอบทั้งสองมายูเนี่ยนกัน จะได้
x∈[−112,−2)∪(−2,−56]