การแก้สมการค่าสัมบูรณ์โดยการยกกำลังสองทั้งสองข้าง
การยกกำลังสองทั้งสองข้างของสมการช่วยให้ค่าสัมบูรณ์หลุดออกได้ เพราะเมื่อยกกำลังสองแล้วจะได้ค่าเป็นบวกเสมอ ค่าสัมบูรณ์จึงไม่จำเป็นต้องใส่
แต่สิ่งสำคัญในการแก้สมการโดยวิธีนี้คือต้องตรวจคำตอบด้วย เพราะอาจเกิดกรณีเช่น
$|x| = -5$
ถ้าเรายกกำลังสองทั้งสองข้างจะได้
x2=(−5)2x2=25x=5,−5
ซึ่งเมื่อยกกำลังสองแล้วเราสามารถหาคำตอบได้ ทั้งที่สมการนี้เป็นไปไม่ได้แต่แรกอยู่แล้ว
ตัวอย่างการแก้สมการค่าสัมบูรณ์โดยการยกกำลังสองทั้งสองข้าง
$|x-2| = 3x + 2$
ยกกำลังสองทั้งสองข้าง จะได้
(x−2)2=(3x+2)2x2−4x+4=9x2+12x+40=8x2+16x
นำ $8$ หารตลอด จะได้
0=x2+2x0=x(x+2)x=−2,0
ตรวจคำตอบจะเห็นว่า ถ้า $x = -2$ จะทำให้ $3x + 2 = 3(-2) + 2 = -4$
ซึ่งส่งผลให้ค่าสัมบูรณ์ $=$ ติดลบ จึงใช้ไม่ได้
$x = 0$
การแก้อสมการค่าสัมบูรณ์โดยการยกกำลังสองทั้งสองข้าง
มีหลักการเช่นเดียวกับการแก้สมการเลย
ตัวอย่างการแก้อสมการค่าสัมบูรณ์โดยการยกกำลังสองทั้งสองข้าง
$|5x-1| \leq |x+3|$
ยกกำลังสองทั้งสองข้าง จะได้
(5x−1)2≤(x+3)225x2−10x+1≤x2+6x+924x2−16x−8≤0
นำ $8$ หารตลอด จะได้
3x2−2x−1≤0(3x+1)(x−1)≤0
ดังนั้น
$\displaystyle x \in \left[ -\frac{1}{3} , 1 \right]$
การยกกำลังสองทั้งสองข้างไม่นิยมใช้ในกรณีที่มีกำลังมากกว่า $1$ อยู่แล้ว เช่น หากมี $x^2$ แล้วเรายกกำลังสองจะกลายเป็น $x^4$ ซึ่งจะแก้สมการได้ยากขึ้น