Processing math: 100%
สับเซตและเพาเวอร์เซต, ซับเซตและเพาเวอร์เซต
(subset and powerset)

สับเซตคืออะไร

สับเซต (subset) ถ้าแปลตรงตัวก็คือ เซตย่อย ที่ย่อยออกมากจากอีกเซต เช่น ถ้าบอกว่า A เป็นสับเซตของ B นั้นหมายความว่า เซต B จะต้องใหญ่กว่าหรือเท่ากันกับเซต A และเนื่องจากเซต A ย่อยออกมาจากเซต B สมาชิกทุกตัวใน A จะต้องอยู่ในเซต B ด้วย

สับเซต ใช้สัญลักษณ์

เซต A เป็นสับเซตของเซต B ใช้สัญลักษณ์ AB และสมาชิกทุกตัวในเซต A อยู่ในเซต B

ไม่เป็นสับเซต ใช้สัญลักษณ์

เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต C ใช้สัญลักษณ์ AC ซึ่งจะต้องมีสมาชิกตัวใดตัวหนึ่งใน A ที่ไม่เป็นสมาชิกของ C

เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต X

ตัวอย่างการเป็นสับเซตและไม่เป็นสับเซตกัน

กำหนดให้ A={1,2,3,4,5},B={2,3,5} และ C={2,4}

จะเห็นว่าสมาชิกทุกตัวของ B คือ 2,3 และ 5 เป็นสมาชิกของ A ด้วย ดังนั้น BA

และสมาชิกของ C คือ 2 และ 4 ก็เป็นสมาชิกของ A ด้วยเช่นกัน ดังนั้น CA

แต่ในขณะที่สมาชิกของ C ตัวหนึ่ง คือ 4 ไม่เป็นสมาชิกของ B ดังนั้น CB


ตัวอย่างการตรวจสอบการเป็นสับเซต

ให้ตรวจสอบว่า {1,2}{1,{2},{1,2}} เป็นจริงหรือไม่

เริ่มต้นจากการพิจารณาให้ดีว่าสมาชิกของเซตด้านซ้ายมีอะไรบ้าง  เพื่อความชัดเจนพี่จะเขียนรายการสมาชิกในเซตด้านซ้ายซึ่งมีสองตัวให้ดูดังนี้

  • 1
  • 2

ในขณะที่เซตด้านขวามีสมาชิกสามตัวดังนี้

  • 1
  • {2}
  • {1,2}

จะเห็นว่าสมาชิกตัวหนึ่งด้านหน้า คือ 2 ไม่พบว่าเป็นสมาชิกในเซตด้านหลัง (ด้านหลังมีเพียง {2} ซึ่งถือว่าเป็นคนละตัวกับ 2)

ดังนั้นจะได้ว่าข้อความนี้ไม่เป็นจริง

จากตัวอย่างที่แล้วจะเห็นว่าการดูแค่เพียงว่าเซตด้านซ้ายมีตัวเลข 1 กับเลข 2 และเซตด้านขวาก็มีเลข 1 กับเลข 2 อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะบอกว่าเซตทั้งสองเป็นสับเซตกัน  น้องๆ จะต้องแยกให้ออกว่าสมาชิกตัวจริงของเซตด้านซ้ายกับสมาชิกของเซตด้านขวามีใครบ้าง และ 2 กับ {2} ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันเพราะว่า {2} คือ เซตที่ประกอบด้วยเลข 2 ในขณะที่ 2 เป็นเพียงเลข 2 เฉยๆ

เพาเวอร์เซต

ถ้า A เป็นเซต เพาวเวอร์เซต (Power Set) ของเซต A คือ เซตที่มีสมาชิกประกอบไปด้วยสับเซตของ A ทั้งหมด เพาเวอร์เซตของ A เขียนแทนด้วย 

P(A)={สับเซตทั้งหมดของA}

เช่น ถ้า A={1,2} สับเซตของ A คือ

  • {1}
  • {2}
  • {1,2} หรือ A 

ดังนั้น 

P(A)={,{1},{2},A}

เทคนิคการตรวจสอบการเป็นสับเซตที่ซับซ้อน

สำหรับการเป็นสับเซตที่ซับซ้อน เรามีเทคนิคในการตรวจสอบการเป็นสับเซตโดยการตัดปีกกา {} และตัดตัว P() ของเพาเวอร์เซตออกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง เช่น

ให้ตรวจสอบว่า {{{2}}}P({{1,2}}) เป็นจริงหรือไม่ 

เราเริ่มต้นจากการตัดปีกกาทางซ้ายออก พร้อมกับตัด P ด้านขวาออก และค่อยๆ ตัดปีกกาออกข้างละคู่ๆ พร้อมๆ กันจนได้

{{{2}}}P({{1,2}}){{2}}{{1,2}}{{2}}{{1,2}}{2}{1,2}

 เหลือเพียงแค่ {2}{1,2} ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยง่ายว่าเป็นจริง

ดังนั้นข้อความที่โจทย์ให้ตรวจสอบเป็นจริง 

สมบัติของพาวเวอร์เซต

 กำหนดให้ A และ B เป็นเซตใดๆ

  1. P(A) เพราะ A เสมอ
  2. P(A) เพราะเซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต แล้ว P(A) ก็เป็นเซตเช่นกัน
  3. AP(A) เพราะ AA เสมอ
  4. ถ้า A เป็นเซตจำกัด และ n(A) คือจำนวนสมาชิกของ A แล้ว P(A) จะมีสมาชิก 2n(A) ตัว (เท่ากับจำนวนสับเซตของ A)
  5. AB ก็ต่อเมื่อ P(A)P(B)
  6. P(A)P(B)=P(AB)
  7. P(A)P(B)P(AB)
คำคล้าย : สับเซตและเพาเวอร์เซต, ซับเซตและเพาเวอร์เซต
Under Growing
"คลังความรู้" กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา พี่ๆ กำลังทยอยเพิ่มบทความและปรับปรุงรูปแบบให้อ่านง่าย ใช้ทบทวนความรู้ได้จริง รีเควสหัวข้อ หรือมีข้อเสนอแนะ ทวีตมาคุยกับพี่ๆ ได้เลยจ้า
คอร์สแนะนำ
หนังสือแนะนำ
รายละเอียดการใช้งานคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของ บริษัท โอเพ่นดูเรียน จํากัด (“โอเพ่นดูเรียน”) โอเพ่นดูเรียนจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของโอเพ่นดูเรียนได้ที่ นโยบายคุกกี้ และคุณสามารถปฏิเสธคุกกี้ได้