ซัมเมชั่น หรือ ซิกม่า ∑ เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการหาผลรวมของอนุกรมหรือลำดับที่มีรูปทั่วไปเป็นพหุนามกำลังไม่เกินสาม
การเขียนผลบวกในรูปซัมเมชั่น
1+2+3+4+⋯+120
รูปทั่วไปของพจน์ที่ n คือ an=n โดยที่ n เริ่มที่ n=1 ไปจนถึง n=120 และเขียนแทนด้วย
120∑n=1n
ซึ่งตัวแปรที่ใช้จะเป็นตัวแปรอะไรก็ได้ ดังนั้นเราสามารถเขียนผลรวมด้านบนใหม่ได้อีกหลายๆ แบบ
120∑k=1k=120∑i=1i=120∑j=1j
ตัวอย่างการเขียนผลบวกในรูปซัมเมชั่น
- 1+3+5+7+⋯+(2n−1)=n∑k=1(2k−1)
- 2+4+6+8+⋯+(2n)=n∑k=12k
- 4+6+8+10+⋯+(2n+2)=n∑k=1(2k+2)
- 12+22+32+42+⋯+n2=n∑k=1k2
- 4+9+14+19+⋯+(5n−1)=n∑k=1(5k−1)
สูตรซัมเมชั่น
ในสูตรซัมเมชั่น ตัวแปรจะเริ่มที่ 1 และจบที่ n เสมอ
ให้ k แทนค่าคงตัวใดๆ จะได้
n∑i=1k=n×kn∑i=1i=n(n+1)2n∑i=1i2=n(n+1)(2n+1)6n∑i=1i3=(n(n+1)2)2
ตัวอย่างการใช้สูตรซัมเมชั่น
25 ตัว⏞3+3+3+⋯+3 มีค่าเท่ากับเท่าใด
25 ตัว⏞3+3+3+⋯+3=25∑i=13=3×25=75
75
ให้หาผลบวก 1+2+3+4+⋯+99+100
1+2+3+4+⋯+99+100=100∑i=1i=(100)(101)2=5050
5050
ผลรวม 32+33+34+⋯+100 มีค่าเท่ากับเท่าใด
32+33+34+⋯+99+100=(1+2+3+⋯+100)−(1+2+3+⋯+31)=(100∑i=1i)−(31∑i=1i)=((100)(101)2)−((31)(32)2)=5050−496=4554
ดังนั้นผลรวม 32+33+34+⋯+100 มีค่าเท่ากับ 4554
การแยกบวกลบและการดึงค่าคงตัวของซัมเมชั่น
สมบัติสำคัญของซัมเมชั่นมี 3 ข้อ คือ
- แยกบวกได้
- แยกลบได้
- และดึงค่าคงตัวมาด้านหน้าได้
โดยเขียนในรูปสมการคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ถ้าให้ an และ bn เป็นลำดับ และ k เป็นค่าคงตัว จะได้
n∑i=1(an+bn)=n∑i=1an+n∑i=1bnn∑i=1(an−bn)=n∑i=1an−n∑i=1bnn∑i=1(k⋅an)=k⋅n∑i=1an
ตัวอย่างการใช้ซัมเมชั่นในโจทย์ทั่วไป
จงหาผลรวม 3+9+15+21+⋯+303
หารูปทั่วไปของพจน์ที่ n ของ 3+9+15+21+⋯+303 ก่อน โดยพบว่าอนุกรมนี้เป็นอนุกรมเลขคณิตที่มีผลต่างร่วม คือ d=6 และมี a1=3 ดังนั้นจึงได้รูปทั่วไปเป็น
an=a1+(n−1)d=3+(n−1)6=3+6n−6=6n−3
ก่อนนำไปเขียนซัมเมชั่น เราต้องทราบก่อนว่า 303 เป็นพจน์ที่เท่าใด จึงต้องแก้สมการ an=303 เพื่อหาค่า n (หาว่าเป็นพจน์ที่เท่าใด)
an=3036n−3=3036n=303+36n=3066n6=3066n=51
ดังนั้นพจน์สุดท้ายจึงเป็นพจน์ที่ 51 ทำให้สามารถเขียนซัมเมชั่นได้
51∑n=1(6n−3)
และถ้าหากจะเขียนให้ตัวแปรตรงกับสูตรซัมเมชั่นจะได้
51∑i=1(6i−3)=51∑i=16i−51∑i=13=651∑i=1i−51∑i=13=6((51)(52)2)−(3×51)=7956−153=7803
7803