การประยุกต์อนุพันธ์กับความเร็วและความเร่ง
(velocity acceleration)

การประยุกต์อนุพันธ์กับความเร็วและความเร่ง

ปัญหาเกี่ยวกับระยะทาง ความเร็ว และความเร่ง เราได้เรียนกันมาตั้งแต่วิทยาศาสตร์ระดับ ม.ต้น จนมาถึงวิชาฟิสิกส์ระดับ ม.ปลาย สูตรจำนวนมากมายที่เราท่องกัน เช่น s=ut+12at2 หรือ v=u+at นั้น เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่ามีที่มาอย่างไร เนื่องจากความเร่ง (a) ของวัตถุขณะเวลา t ใดๆ คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็ว (v) เทียบกับเวลา t ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ตามสมการ s=f(t) เมื่อ s คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในเวลา t แล้ว

จะได้ a=dvdt และ v=dsdt

ดังนั้น a=ddt(dsdt)=d2sdt2

นั่นคือ ความเร่งขณะเวลา t ใดๆ คืออนุพันธ์อันดับที่ 2 ของ s=f(t)

เพราะฉะนั้น จากสมการ  s=ut+12at2

จะได้ v(t)=s(t)=u+12(2)at=u+at นั่นเอง

 

ตัวอย่างการประยุกต์เรื่องความเร็วและความเร่ง

ตัวอย่างที่ 1

วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ได้ระยะทาง s=4t32t2+3t1 เมตร เมื่อเวลาผ่านไป  t วินาที จงหา
(1)  ความเร็วของวัตถุขณะเวลา  t ใดๆ
(2)  ความเร่งของวัตถุขณะเวลา  t ใดๆ
(3)  ความเร่งของวัตถุขณะเวลาผ่านไป  2 วินาที

จาก s=4t32t2+3t1

(1)  ความเร็วของวัตถุขณะเวลา t ใดๆ

v(t)=s(t)=ddt(4t32t2+3t1)=12t24t+3

 

(2)  ความเร่งของวัตถุขณะเวลา t ใดๆ

a(t)=v(t)=ddt(12t24t+3)=24t4

 

(3)  ความเร่งของวัตถุขณะเวลาผ่านไป 2 วินาที

a(t)=24t4a(2)=24(2)4=44

(1)  ความเร็วของวัตถุขณะเวลา t ใดๆ เท่ากับ 12t24t+3 เมตร/วินาที
(2)  ความเร่งของวัตถุขณะเวลา t ใดๆ เท่ากับ 24t4 เมตร/วินาที2
(3)  ความเร่งของวัตถุขณะเวลาผ่านไป 2 วินาที เท่ากับ 44 เมตร/วินาที2


 

ตัวอย่างที่ 2 

นักเรียนคนหนึ่งโยนก้อนหินขึ้นไปในอากาศ ก้อนหินเคลื่อนที่ได้ระยะทาง s=128t16t2 เมตร ในเวลา  t วินาที จงหา
(1)  ความเร็วเฉลี่ยในช่วงวินาทีที่  2 ถึงวินาทีที่  3
(2)  ระยะทางที่ก้อนหินเคลื่อนที่ได้หลังจากโยนไปแล้ว  5 วินาที
(3)  ความเร็วในการเคลื่อนที่ของก้อนหินขณะวินาทีที่  4
(4)  ความเร่งของก้อนหินขณะเวลา  t ใดๆ
(5)  ความเร่งของก้อนหินขณะเวลาผ่านไป  2 วินาที

(1)  ความเร็วเฉลี่ยในช่วงวินาทีที่ 2 ถึงวินาทีที่ 3

เนื่องจากความเร็วคืออัตราการเปลี่ยนแปลงของระยะทาง ดังนั้น การหาความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลาใดๆ จึงใช้วิธีเดียวกับการหาอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย โดยในขั้นแรกต้องหาความเร็วขณะเวลา t ใดๆ ก่อน

v(t)=s(t)=ddt(128t16t2)=12832t

ความเร็วเฉลี่ยในช่วงวินาทีที่ 2 ถึง 3 คือ

v(3)v(2)32=[12832(3)][12832(2)]1=12896128+64=32

ความเร็วมีค่าติดลบ แสดงว่าก้อนหินกำลังลดความเร็วลงนั่นเอง

 

(2)  ระยะทางที่ก้อนหินเคลื่อนที่ได้หลังจากโยนไปแล้ว 5 วินาที

ในข้อนี้ถามระยะทางขณะ t=5 แสดงว่าเราเพียงแค่แทนค่าใน s(t) เท่านั้น

s(5)=128(5)16(5)2=640400=240

 

(3)  ความเร็วในการเคลื่อนที่ของก้อนหินขณะวินาทีที่ 4

จาก v(t)=12832t จะได้

v(4)=12832(4)=0

ความเร็วเป็น 0 แสดงว่าก้อนหินขึ้นถึงจุดสูงสุดที่สามารถไปถึงได้ และกำลังจะเคลื่อนที่หล่นลงมา

 

(4)  ความเร่งของก้อนหินขณะเวลา t ใดๆ

จาก v(t)=12832t จะได้

a(t)=v(t)=ddt(12832t)=32

ความเร่งมีค่าติดลบ แสดงว่าก้อนหินมีความเร็วลดลงเรื่อยๆ

 

(5)  ความเร่งของก้อนหินขณะเวลาผ่านไป 2 วินาที

เนื่องจากความเร่งขณะเวลา t ใดๆ เป็นค่าคงที่เท่ากับ 32 เมตร/วินาที2 จะได้ a(2)=32 เช่นกัน

(1)  ความเร็วเฉลี่ยในช่วงวินาทีที่ 2 ถึงวินาทีที่ 3 เท่ากับ 32 เมตร/วินาที
(2)  ระยะทางที่ก้อนหินเคลื่อนที่ได้หลังจากโยนไปแล้ว 5 วินาที เท่ากับ 240 เมตร
(3)  ความเร็วในการเคลื่อนที่ของก้อนหินขณะวินาทีที่ 4 เท่ากับ 0 เมตร/วินาที
(4)  ความเร่งของก้อนหินขณะเวลา t ใดๆ เท่ากับ 32 เมตร/วินาที2
(5)  ความเร่งของก้อนหินขณะเวลาผ่านไป 2 วินาที เท่ากับ 32 เมตร/วินาที2


 

ตัวอย่างที่ 3 

ลูกบอลลูกหนึ่งถูกโยนขึ้นไปในแนวดิ่ง โดยมีสมการการเคลื่อนที่คือ s=96t16t2 เมื่อ  s คือระยะทาง (ฟุต) และ  t คือเวลา (วินาที) จงหา
(1)  ความเร็วของลูกบอล ณ เวลา  2 วินาที
(2)  ความเร็วของลูกบอล ณ เวลา  4 วินาที
(3)  ระยะทางที่ลูกบอลขึ้นไปได้สูงสุด

(1)  ความเร็วของลูกบอล ณ เวลา 2 วินาที

จาก s=96t16t2

v(t)=s(t)=ddt(96t16t2)=9632t

ความเร็วของลูกบอลขณะเวลา t ใดๆ เท่ากับ 9632t เมตร/วินาที จะได้

v(2)=9632(2)=32 เมตร/วินาที

 

(2)  ความเร็วของลูกบอล ณ เวลา 4 วินาที

จาก v(t)=9632t จะได้

v(4)=9632(4)=32 เมตร/วินาที

จะสังเกตได้ว่า อัตราเร็วขณะวินาทีที่ 2 และ 4 มีค่าเท่ากัน คือ 32 เมตร/วินาที แต่ความเร็วของทั้งสองเวลามีทิศทางต่างกัน นั่นคือ ขณะเวลา 2 วินาที ลูกบอลมีความเร็วเป็นบวก แสดงว่ากำลังเคลื่อนที่ขึ้น แต่ขณะเวลา 4 วินาที ความเร็วติดลบ แสดงว่าลูกบอลกำลังเคลื่อนที่ตกลงมา

 

(3)  ระยะทางที่ลูกบอลขึ้นไปได้สูงสุด

จาก s=96t16t2 เรายังไม่ทราบว่าเมื่อเวลาใดที่ลูกบอลจะขึ้นสูงที่สุด แต่ขณะที่ลูกบอลขึ้นไปถึงจุดสูงสุดนั้น ลูกบอลจะหยุดนิ่ง กล่าวคือมีความเร็วเป็น 0 เมตร/วินาที เราจึงสามารถหาเวลาได้ ดังนี้

จาก v=9632t ให้ v=0

0=9632t32t=96t=3

นั่นคือ ขณะเวลา t=3 วินาที ลูกบอลจะขึ้นไปสูงที่สุด ดังนั้น

s(3)=96(3)16(3)2=288144=144 เมตร

(1)  ความเร็วของลูกบอล ณ เวลา 2 วินาที เท่ากับ 32 เมตร/วินาที
(2)  ความเร็วของลูกบอล ณ เวลา 4 วินาที เท่ากับ 32 เมตร/วินาที
(3)  ระยะทางที่ลูกบอลขึ้นไปได้สูงสุด เท่ากับ 144 เมตร

 

คำคล้าย : การประยุกต์อนุพันธ์กับความเร็วและความเร่ง
Under Growing
"คลังความรู้" กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา พี่ๆ กำลังทยอยเพิ่มบทความและปรับปรุงรูปแบบให้อ่านง่าย ใช้ทบทวนความรู้ได้จริง รีเควสหัวข้อ หรือมีข้อเสนอแนะ ทวีตมาคุยกับพี่ๆ ได้เลยจ้า
คอร์สแนะนำ
หนังสือแนะนำ
รายละเอียดการใช้งานคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของ บริษัท โอเพ่นดูเรียน จํากัด (“โอเพ่นดูเรียน”) โอเพ่นดูเรียนจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของโอเพ่นดูเรียนได้ที่ นโยบายคุกกี้ และคุณสามารถปฏิเสธคุกกี้ได้