สรุปวิธีใช้! 得 de, dé, děi 1 คำ 3 เสียง ใช้งานต่างกันยังไงนะ?(พาร์ท 2)
สืบเนื่องจากคราวที่แล้วที่เราได้เรียนรู้ถึงความหมาย และวิธีการใช้งานของคำว่า 得 dé และ 得 děi กันไปใน สรุปวิธีใช้! 得 de , dé , děi 1 คำ 3 เสียง ใช้งานต่างกันยังไงนะ?(พาร์ท 1)ถ้าพร้อมไปต่อกันแล้ว วันนี้เรามาเรียนวิธีการใช้งานแบบเจาะลึกของ 得 de ตัวสุดท้ายกันดีกว่า
อย่างที่รู้กันว่าคำศัพท์ภาษาจีนที่มีอยู่มากมายหลายพันคำ แถมคำศัพท์จีนบางคำสามารถใช้งานได้หลากหลายบริบท หรืออ่านออกเสียงได้หลายแบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือคำว่า 得 นั่นเอง คำศัพท์จีนคำนี้เป็นที่สับสนมากๆ ว่าที่แท้จริงมันแปลว่าอะไร ออกเสียงแบบไหน และมีวิธีการใช้งานอย่างไรกันแน่ เพราะ 得 คำนี้สามารถออกเสียงได้ถึง 3 แบบ คือ de dé děi ซึ่งนอกจากจะมีการออกเสียงเสียงแตกต่างกันแล้ว ความหมายและการใช้งานก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ในพาร์ทนี้ Chinese Hack จึงได้ทำการสรุป 得 de มาให้แบบละเอียดยิบ ทั้งความหมายและทางหลักไวยากรณ์ในการใช้งาน เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้แบบตรงประเด็น และจับสังเกตข้อแตกต่างของคำศัพท์นี้ได้แม่นยำยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนวิธีการใช้งานคำว่า 得 de ตัวสุดท้ายนี้ไปพร้อมๆกันเลยยยย
得 de บอกระดับ หรือผลลัพธ์
โครงสร้างประโยค
S+ คำกริยา / คำคุณศัพท์ + 得 de + ส่วนเสริมบอกระดับ / ผลลัพธ์ (บอกเล่า)
S+ คำกริยา / คำคุณศัพท์ + 得 de + (不) + ส่วนเสริมบอกระดับ / ผลลัพธ์ (ปฏิเสธ)
การใช้งาน
- ใช้วางหลังคำกริยา หรือคำคุณศัพท์ และตามหลังด้วยส่วนเสริม
✔️หากด้านหน้าเป็นคำกริยา หรือคำคุณศัพท์ ส่วนเสริมจะเป็นคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือวลี
✔️หากด้านหน้าเป็นวลีกริยา - กรรม (V//O) จะต้องซ้ำคำกริยา
✔️หากด้านหน้าเป็นคำคุณศัพท์ ส่วนเสริมจะเป็นคำวิเศษณ์ หรือคำคุณศัพท์
- ใช้เพื่ออธิบายรายละเอียดของการกระทำ สถานการณ์ ระดับ หรือผลลัพธ์
ตัวอย่างประโยค
他看书看得忘了吃饭。
Tā kàn shū kàn de wàng le chīfàn.
เขาอ่านหนังสือจนลืมกินข้าว
他游泳游得不好。
Tā yóuyǒng yóu de bù hǎo.
เขาว่ายน้ำได้ไม่ดี
得 de บอกถึงสภาพความเป็นไปได้
โครงสร้างประโยค
S + คำกริยา + 得 de + ส่วนเสริมบอกความเป็นไปได้ (บอกเล่า)
คำกริยา + 不得 de (ปฏิเสธ)
不 + คำกริยา + 得 de (ปฏิเสธ)
การใช้งาน
- ใช้วางหลังคำกริยา หรือวางไว้กลางคำประสม และตามด้วยส่วนเสริม
- ใช้เพื่อแสดงการคาดคะแน หรือแสดงความเป็นไปได้
- ใช้เพื่อแสดงถึงความสามารถในการกระทำสิ่งนั้นๆ
ตัวอย่างประโยค
他忙得要死。
Tā máng de yàosǐ.
เขายุ่งจะตายอยู่แล้ว
这么多菜吃得完吗?
Zhème duō cài chī de wán ma?
อาหารเยอะขนาดนี้จะกินกันหมดหรอ?
得 de บอกถึงเงื่อนไข หรือความเป็นเหตุ-ผล
โครงสร้างประโยค
คำกริยา + 得 de (บอกเล่า)
คำกริยา + 不得 de (ปฏิเสธ)
การใช้งาน
- ใช้วางหลังคำกริยาพยางค์เดียว
- ใช้เพื่อแสดงถึงเงื่อนไข หรือความเป็นเหตุเป็นผล
ตัวอย่างประโยค
他去得,我也去得。
tā qù de , wǒ yě qù de.
เขาไปได้ ฉันก็ไปได้เหมือนกัน
这样的好事,当然做得。
Zhèyàng de hǎoshì, dāngrán zuò de.
เรื่องดีขนาดนี้ ทำได้แน่นอน
练习 มาทำแบบฝึกหัดกัน!
ประโยคต่อไปนี้ต่อเลือกใช้งาน 得 ตัวไหนนะ? (得 de / 得 dé / 得 děi)
- 大家都说他聪明,他很___意。
- 这次旅行我们玩___很开心。
- 他能去,我为什么去不___?
- 你___早点睡觉。
- 明明唱歌唱___很好听。
- 如果想获___好的工作,你___认真学习,相信我,你当然做___!
วันนี้ทุกคนเข้าใจความหมาย และการใช้งานคำว่า 得 de กันมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ?
หวังว่าทุกคนคงจะสามารถแยกแยะความหมาย และการใช้งานของคำว่า 得 de dé dě ทั้ง 2 พาร์ทที่เราเอามาฝากกันนะคะ
หากใครยังไม่ได้อ่าน สรุปวิธีใช้! 得 de, dé , děi 1 คำ 3 เสียง ใช้งานต่างกันยังไงนะ?(พาร์ท 1)
สามารถกลับไปย้อนอ่านกันได้นะคะ จะได้นำไปใช้ได้แบบแม่นเป๊ะ ไม่มีพลาดแน่นอน
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมต้อง คอร์ส Chinese Buffet เลย
เรียนได้แม้ไม่มีพื้นฐาน เก็บครบ จบทุกทักษะในคอร์สเดียว
เทคนิคแน่น เกร็ดความรู้เพียบ พร้อมสอบ HSK 3 ได้อย่างแน่นอน
หากสนใจ สามารถทดลองเรียนได้ที่ >>
เฉลยแบบฝึกหัด
1. 得 dé
เพราะรูปประโยคจะสื่อถึงความรู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างมาก
> รูปประโยคแปลว่า ทุกคนล้วนพูดว่าเขาฉลาดมาก เขารู้สึกพอใจสุดๆ
2. 得 de
เพราะรูปประโยคจะสื่อถึงการบอกผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
> รูปประโยคแปลว่า พวกเรารู้สึกว่าการท่องเที่ยวในครั้งนี้มันสนุกมากเลย
3. 得 de
เพราะรูปประโยคจะสื่อถึงเงื่อนไข หรือความเป็นเหตุเป็นผลของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
> รูปประโยคแปลว่า เขาไปได้ แล้วทำไมฉันจะไปไม่ได้?
4. 得 děi
เพราะรูปประโยคจะสื่อถึงความจำเป็นในการต้องทำเรื่องราวนั้นๆ
> รูปประโยคแปลว่า คุณต้องนอนเร็วๆ
5. 得 de
เพราะรูปประโยคจะสื่อถึงการบอกผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ประโยคนี้ยังเป็นรูปแบบ วลีกริยา - กรรม (V//O) ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องซ้ำคำกริยา
> รูปประโยคแปลว่า หมิงหมิงร้องเพลงได้ไรเราะมาก
6. 得 dé / 得 děi / 得 de
เพราะรูปประโยคจะสื่อถึงความหมายของการได้รับบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องทำในเรื่องราวเหล่านั้น และเป็นการบอกผลลัพธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลของเรื่องราวที่เกิดขึ้น
> รูปประโยคแปลว่า หากอยากได้รับการงานที่ดี คุณจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฉันเถอะ ว่าคุณทำได้!