แนะแนวแพทย์ รามา อยากสอบติดต้องเตรียมตัวอย่างไร

แนะแนวแพทย์ รามา อยากสอบติดต้องเตรียมตัวอย่างไร

น้อง ๆ ที่อยากเป็นหมอ สถาบันหนึ่งที่เป็นเป้าหมายของใครหลายคนก็คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ในรั้วมหิดล ก็มีอยู่ 2 คณะใหญ่ ๆ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “แพทย์ รามา” และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลหรือที่เรียกสั้นว่า “แพทย์ ศิริราช” ซึ่งบทความนี้จะมาแนะแนวข้อมูลของแพทย์ รามา โดยเพาะ เพื่อให้ข้อมูลสำหรับผู้สนใจและไขข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้

แพทย์ รามา เรียนที่ไหน

คณะแพทย์ รามา มีกี่สาขา

อยากสอบคณะแพทย์ รามาติดต้องเตรียมตัวอย่างไร

แนะนำเรื่องการเตรียมคะแนน IELTS


แนะแนวแพทย์ รามา อยากสอบติดต้องเตรียมตัวอย่างไร

 

 

แพทย์ รามา เรียนที่ไหน

 

มหาวิทยาลัยมหิดล มีทั้งหมด 6 วิทยาเขตด้วยกัน ได้แก่ ศาลายา พญาไท บางกอกน้อย กาญจนบุรี นครสวรรค์ และอำนาจเจริญ สำหรับนักศึกษาคณะแพทย์ รามา ซึ่งมีทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรแพทยศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์ จะมีสถานที่เรียนแตกต่างกันออกไป โดยหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแต่ละชั้นปีจะเรียนในสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ 

 

  • ชั้นปีที่ 1 เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
  • ชั้นปีที่ 2 - 3 เรียนที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ
  • ชั้นปีที่ 4 - 5 เรียนที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
  • ชั้นปีที่ 6 เรียนที่โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลสมทบ

 

ส่วนนักศึกษาคณะแพทย์ รามา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 

 

  • ชั้นปีที่ 1 - 2 เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
  • ชั้นปีที่ 3 - 4 เรียนที่โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ส่วนนักศึกษาคณะแพทย์ รามา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย 

 

  • ชั้นปีที่ 1 - 2 (เทอม 1) เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
  • ชั้นปีที่ 2 (เทอม 2) - 3 (เทอม 1) เรียนที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
  • ชั้นปีที่ 3 (เทอม 2) - 4 เรียนที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 

 

ส่วนนักศึกษาคณะแพทย์ รามา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 

 

  • ชั้นปีที่ 1 เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
  • ชั้นปีที่ 2 - 4 เรียนที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์และโรงพยาบาลรามาธิบดี

 

คณะแพทย์ รามา มีกี่สาขา

 

คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มีหลักสูตรและสาขาเรียน ดังนี้ 

 

ระดับปริญญาตรี

 

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

 

  • สาขาแพทยศาสตร์ (หลักสูตรปกติ 6 ปี)
  • สาขาแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรควบ พ.บ.-วศ.ม. 7 ปี)
  • สาขาแพทยศาสตร์และการจัดการ (หลักสูตรควบ พ.บ.-กจ.ม. 7 ปี)
  • สาขาแพทยศาสตร์ โครงการมหิดลวิทยาจารย์ (หลักสูตรควบ วท.บ.-ปร.ด.-พ.บ.)

 

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

 

  • สาขาพยาบาลศาสตร์

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

 

  • สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
  • สาขาฉุกเฉินการแพทย์

 

ระดับปริญญาโท

 

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

 

  • สาขาการพยาบาลเด็ก (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ (ภาคปกติ)
  • สาขาการผดุงครรภ์

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

 

  • สาขาการเจริญพันธ์และประยุกต์เทคโนโลยี
  • สาขาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (โครงการร่วมคณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และบัณฑิตวิทยาลัย)
  • สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
  • สาขาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว)
  • สาขาพยาธิวิทยาคลินิก
  • สาขาแพทยศาสตร์
  • สาขาฟิสิกส์การแพทย์
  • สาขาโภชนศาสตร์ (โครงการร่วมระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันโภชนาการ)
  • สาขาเวชศาสตร์ปริวรรต
  • สาขาวิทยาการระบาดทางการแพทย์ (โครงการร่วม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
  • สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลการดูแลสุขภาพ
  • สาขาอาชีวอนามัยและพิษวิทยา

 

ระดับปริญญาเอก

 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

 

  • สาขาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (โครงการร่วมคณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และบัณฑิตวิทยาลัย)
  • สาขาระบาดวิทยาคลินิก
  • สาขาเวชศาสตร์โมเลกุล (โครงการร่วม คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน)
  • สาขาเวชศาสตร์ปริวรรต
  • สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลการดูแลสุขภาพ
  • สาขาพยาธิวิทยาคลินิก
  • สาขาโภชนศาสตร์ (โครงการร่วม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันโภชนาการ)
  • สาขาวิชาการพยาบาล (หลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ)


 

อยากสอบคณะแพทย์ รามาติดต้องเตรียมตัวอย่างไร

 

คุณสมบัติเบื้องต้นของคนที่ต้องการจะสมัครเรียนคณะแพทย์ รามา จะต้องเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีหลักสูตรแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบเข้าในที่นี้จะกล่าวถึงในส่วนของระดับปริญญาตรีเป็นหลัก การรับสมัครจะรับผ่านระบบ TCAS ดังนี้

 

  • หลักสูตรแพทยศาสตร์ รับสมัคร 2 รอบ คือ รอบ Portfolio 1/1 และรอบ 3 (กสพท.)  
  • หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ สาขาฉุกเฉินการแพทย์ รับสมัคร 3 รอบ คือ รอบ Portfolio 1/2 รอบ 2 (โควต้า) และรอบ 3 (รับตรงร่วมกัน)
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รับสมัคร 3 รอบ คือ รอบ Portfolio 1/1 รอบ 2 (โควต้า) และรอบ 3 (รับตรงร่วมกัน)

 

หลักสูตรแพทยศาสตร์ รอบ Portfolio 1/1 

 

รับสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในโครงการปกติ โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ. ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) และโครงการร่วม 2 หลักสูตร  พ.บ. – กจ.ม. (การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ))

 

การใช้คะแนนในการสมัครเรียน

 

  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.50
  • คะแนนภาษาอังกฤษ เช่น IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
  • ผลสอบทางวิชาการ เช่น BMAT รวมไม่ต่ำกว่า 12.0 และ Section III ไม่ต่ำกว่า C

 

หลักสูตรแพทยศาสตร์ รอบ 3 (กสพท.)

 

การใช้คะแนนในการสมัครแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ รามา รอบ 3 (กสพท.) มีสัดส่วนการคิดคะแนน ดังนี้

 

  • วิชาสามัญ 70% จัดสอบโดย ทปอ. แบ่งเป็น 

 

  • วิทยาศาสตร์ (คิดคะแนนรวมของฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) สัดส่วน 40% 
  • คณิตศาสตร์ 1 20% 
  • ภาษาอังกฤษ 20%
  • ภาษาไทย 10%
  • สังคมศึกษา 10%

 

  • วิชาเฉพาะ 30% จัดสอบโดย กสพท.  

 

หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ สาขาฉุกเฉินการแพทย์ รอบ Portfolio 1/2 

 

การใช้คะแนนในการสมัครเรียน

 

  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA ภาษาอังกฤษ  ไม่ต่ำกว่า 3.00

 

หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ สาขาฉุกเฉินการแพทย์ รอบ 2 (โควต้า) 

 

การใช้คะแนนในการสมัครเรียน

 

  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA ภาษาอังกฤษ  ไม่ต่ำกว่า 3.00

 

หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ สาขาฉุกเฉินการแพทย์ รอบ 3 (รับตรงร่วมกัน)

 

การใช้คะแนนในการสมัครเรียน มีเกณฑ์ขั้นต่ำ ดังนี้

  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA ภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • A-Level ฟิสิกส์ ไม่ต่ำกว่า 10
  • A-Level เคมี ไม่ต่ำกว่า 10
  • A-Level ชีววิทยา ไม่ต่ำกว่า 10
  • A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม) ไม่ต่ำกว่า 10
  • A-Level ภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 10

 

หมายเหตุ คะแนนขั้นต่ำของวิชาใดวิชาหนึ่งระหว่าง A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม), A-Level ฟิสิกส์, A-Level เคมี, A-Level ชีววิทยา, A-Level ภาษาอังกฤษ ที่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์

 

สำหรับการคิดสัดส่วนการคิดคะแนน มีดังนี้

 

  • TGAT 30%
  • TPAT1 10% 
  • A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม) 10%
  • A-Level ฟิสิกส์ 10%
  • A-Level เคมี 10%
  • A-Level ชีววิทยา 15%
  • A-Level ภาษาอังกฤษ 15%

 

หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รอบ Portfolio 1/1 

 

การใช้คะแนนในการสมัครเรียน

 

  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • GPA ภาษาอังกฤษ  ไม่ต่ำกว่า 3.00
  • คะแนนภาษาอังกฤษ เช่น IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0

 

หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รอบโควต้า 

 

การใช้คะแนนในการสมัครเรียน

 

  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75
  • GPA คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.50
  • GPA วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.50
  • GPA ภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 2.50

 

หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รอบ 3 (กสพท.)

 

การใช้คะแนนในการสมัครพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ รามา รอบ 3 (กสพท.) มีเกณฑ์ขั้นต่ำ ดังนี้

  • GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75
  • GPA คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.75
  • GPA วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.75
  • GPA ภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 2.75
  • TGAT ไม่ต่ำกว่า 20
  • A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม) ไม่ต่ำกว่า 10
  • A-Level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ไม่ต่ำกว่า 10
  • A-Level ภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 30

 

สำหรับการคิดสัดส่วนการคิดคะแนน มีดังนี้

 

  • TGAT 25%
  • A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม) 20%
  • A-Level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 25%
  • A-Level ภาษาอังกฤษ 30%

แนะนำเรื่องการเตรียมคะแนน IELTS 

 

คะแนน IELTS ต้องใช้ในรอบ Portfolio สำหรับหลักสูตรแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ โดยแพทยศาสตร์ใช้ 6.5 คะแนนขึ้นไป ส่วนพยาบาลศาสตร์ใช้ 3.0 ขึ้นไป แนะนำให้เตรียมคะแนนล่วงหน้าไว้จะดีที่สุด 

 

โดยคะแนนมีอายุ 2 ปี สามารถเตรียมล่วงหน้าแต่เนิ่น ๆ ภายในเวลา 2 ปีก่อนวันสมัคร เพราะคะแนน IELTS เป็นส่วนที่ยาก หลายคนสอบครั้งแรกจะยังได้คะแนนที่ต่ำกว่าเกณฑ์และต้องสอบแก้ตัวใหม่ จึงควรเตรียมคะแนนไว้ล่วงหน้า 

 

ใครที่มีปัญหาเรื่องการสอบ IELTS แนะนำคอร์สครูเจี๊ยบ การันตี Band 7 สอบครั้งแรกได้คะแนนตามเป้าได้ไม่ยาก หรือใครที่สอบหลายครั้งแล้วคะแนนไม่ถึงเป้าสักที ติว IELTS กับครูเจี๊ยบ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

สมัครแพทย์รอบพอร์ต เตรียม IELTS ให้พร้อม

  • คอร์ส IELTS ครูเจี๊ยบติวจัดให้ครบทั้ง Listening/Reading/Writing/Speaking
  • ติวละเอียดรูปแบบข้อสอบทุกแบบที่ต้องเจอ ไม่ต้องเสียเวลางมเอง
  • เทคนิคการทำโจทย์แบบที่ต่างกันเช่น การทำโจทย์แบบ Yes/No/Not Given
  • วิธีเก็งคำตอบ และ pattern ในการเขียน และพูด
  • ตรวจ แนะนำงานเขียน (จากในคอร์ส) ฟรี!
  • ครูเจี๊ยบมีประสบการณ์ติว IELTS มายาวนานกว่า 20 ปี

สอบถามคอร์สเรียนและโปรโมชั่น

โทร : 061-392-0053

ทดลองเรียนฟรี!! คลิกเลย

 

โดย Wowprae.m
สินค้าที่เกี่ยวข้อง