เทคนิคการเขียน SOP พิชิตมหาลัยในฝันและทุนเรียนต่อต่างประเทศ
เทคนิคการเขียน SOP
พิชิตมหาลัยในฝันและทุนเรียนต่อต่างประเทศ
1.แนะนำตัวเบื้องต้นและความสนใจ
การเขียน SOP หลักๆ เลยคือการแนะนำตัว แต่จะต้องแนะนำให้สอดคล้องกับสาขาที่กำลังจะเรียนต่อ เบื้องต้นควรแนะนำตัวเองคร่าวๆ พร้อมทั้งระบุความสนใจที่เชื่อมโยงไปถึงสาขาที่จะเลือกเรียน หากมีความเชื่อมโยงกันมากเท่าไร ความน่าสนใจในตัวผู้สมัครก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างหากผู้สมัครต้องการศึกษาต่อในสาขาด้านบริหารธุรกิจ และมีความสนใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ก็จะทำให้ผู้สมัครดูน่าสนใจมากขึ้น
2.ระบุว่าเคยทำอะไรมา
ในการเขียน SOP ถัดจากการเขียนแนะนำตัวและระบุความสนใจแล้ว ก็ควรเล่าต่อว่าผู้สมัครเคยทำอะไรมาบ้าง เคยเรียนในคณะอะไร สาขาไหน เคยทำวิจัยหัวข้ออะไร เคยฝึกงานที่ไหนด้านไหน และเคยทำงานที่ไหน หากมีประสบการณ์การทำงานและเกี่ยวข้องกับสาขาที่จะเรียนต่อก็จะยิ่งได้เปรียบ ทำให้ Statement of Purpose ดูน่าสนใจขึ้น และตรงกับวัตถุประสงค์มากขึ้น
3.ระบุความสามารถ
นอกจากการเล่าในสิ่งที่สนใจและเคยทำมาแล้ว เพื่อให้การเขียน SOP นั้นดูดีกว่าเดิม ควรระบุความสามารถของผู้สมัครลงไปด้วย และเพื่อไม่ให้ดูโอ้อวดเกินจริง หากมีรางวัลก็ควรระบุรางวัลที่เคยได้รับประกอบลงไปด้วย ช่วยให้น่าเชื่อถือมากขึ้น แนะนำให้เลือกใส่ความสามารถและรางวัลที่มีความเชื่อมโยงกับการศึกษาต่อในสาขาเรียนที่สมัคร ยกตัวอย่าง หากต้องการศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ และเคยได้รับรางวัลด้านผลงานการทดลอง ก็จะทำให้ SOP ของผู้สมัครดูน่าสนใจมากขึ้น ได้คะแนนจากกรรมการมากขึ้น หากไม่ได้มีรางวัลก็ควรเล่าถึงความสามารถส่วนตัวของตัวเองไปให้ดูสมเหตุสมผล อาจไม่มีรางวัลรับรอง แต่มีผลงานผลิตออกมาก็สามารถนำชื่อผลงานมาระบุเพื่อประกอบการเล่าเรื่องความสามารถได้
4.เล่าถึงแผนอนาคต
การเขียน SOP ที่ดีอีกหนึ่งข้อควรมีการเล่าถึงแผนอนาคตที่จะทำ ส่วนนี้สำคัญมากเนื่องจากเกี่ยวกับการนำวิชาความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนไปต่อยอดในการทำงานจริง หากผู้สมัครสามารถเล่าเรื่องได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าสนใจ จะทำให้ SOP ฉบับนั้นได้คะแนนสูง อาจจะแนบงานวิจัยที่คิดจะทำลงไปด้วยก็ได้ หากมีแผนคร่าวๆ อยู่ในหัวอยู่แล้ว โดยการเล่าว่าสนใจอยากทำวิจัยเกี่ยวกับอะไรหากได้เข้าเรียนในสาขานั้นๆ เพราะคิดว่าจะสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานได้อย่างไร
5.ระบุถึงทุกสิ่งที่ทางสถาบันกำหนดให้ครบถ้วน
บางมหาวิทยาลัยหรือบางสาขาวิชา รวมถึงบางทุนการศึกษา อาจมีการระบุเอาไว้ว่าการเขียน SOP จะต้องมีสิ่งไหนบ้าง ผู้สมัครก็ควรระบุให้ครบถ้วน เช่น ในบางสถาบันอาจกำหนดให้ผู้สมัครกล่าวชื่องอาจารย์ที่ผู้สมัครอยากทำงานวิจัยด้วย
6.เขียนให้กระชับแต่ชัดเจน
ในการเขียน SOP ควรใช้ภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ตรงประเด็น ไม่เน้นน้ำแต่เน้นเนื้อ อย่าเท้าความเยอะเกินไป แต่ควรอ้างอิงถึงสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ส่วนมากทางสถาบันหรือโครงการที่เปิดรับสมัครทุนมักกำหนดความยาวมาเลย ว่าจะต้องไม่เกินกี่คำ ส่วนใหญ่จะกำหนดความยาวที่ 800-1500 คำ สิ่งที่ผู้สมัครต้องรู้คือในการสมัครแต่ละครั้งมีผู้สมัครส่ง SOP จำนวนมาก แน่นอนว่าคณะกรรมการจะต้องอ่านเอกสารหลายฉบับ หากฉบับไหนมีเนื้อหาไม่กระชับ อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้อ่านไม่จบและถูกปัดตกได้ง่ายๆ
การเขียน SOP เป็นส่วนสำคัญที่จะถูกนำพิจารณาในการเข้ารับเพื่อศึกษาต่อ รวมถึงการพิจารณให้ทุน ผู้สมัครต้องให้ความสำคัญกับเอกสารฉบับนี้ค่อนข้างมาก ที่สำคัญเลยจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับสมัครนั้นๆ ให้ดี หากเป็นการเปิดรับสมัครเพื่อศึกษาต่อ ควรทำความเข้าใจมหาวิทยาลัยนั้น สาขาเรียนนั้น ว่าต้องการคนแบบไหน และเขียน SOP ให้เหมาะสมกับความต้องการของกรรมการ รวมถึงทุนการศึกษาก็เช่นกัน ศึกษาให้ละเอียดว่าทุนนั้นมีวัตถุประสงค์อะไร แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อแนะนำตัวเองให้เชื่อมโยงและเหมาะสมที่จะได้รับทุนนั้น บนพื้นฐานความจริง
สำหรับคนอยากพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ
สอบถามคอร์สเรียนและโปรโมชั่น
โทร : 098-281-3164
ทดลองเรียนฟรี!! คลิกเลย
ติวครบพื้นฐานการเขียน (Writing) สำหรับมือใหม่ เริ่มต้นจากการแต่งประโยค ไปจนถึงการเขียน Essay จดหมาย และอีเมล
คอร์สเรียน IELTS ออนไลน์ ติวสอบ IELTS ครบ 4 ทักษะ (Listening/Reading/Writing/Speaking)
คอร์สเรียน IELTS ออนไลน์ Kru Jeab IELTS 4 Skills
ติว Grammar ครบ! เพื่อการสอบ กับครูเจี๊ยบประสบการณ์ติวกว่า 25 ปี
คอร์สติว SAT ออนไลน์ ติวเข้ม เนื้อหาแน่น เทคนิคเพียบ เตรียมตัวเข้าคณะอินเตอร์ในฝัน! โดยสุดยอดอาจารย์คุณภาพมากประสบการณ์ เรียน SAT ที่นี่ที่เดียวจบ มีครบทุกทักษะ การันตีคะแนนไม่ถึงเรียนซ้ำไม่อั้น!