ไวยากรณ์ 把 คำที่คนไทยมักพลาด และใช้ผิดบ่อยเมื่อสอบ HSK5
สำหรับหลายๆ คนที่เรียนภาษาจีนนั้น ไวยากรณ์จีนที่สำคัญอย่าง 把 คงเป็นคำที่เพื่อนๆ คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เนื่องจาก 把 เป็นหนึ่งในคำที่ชาวจีนใช้บ่อยมาก แต่ในขณะเดียวกันนั้น ไวยากรณ์ที่มีหลักการใช้ที่คล้ายเคียงกับ 把 ในภาษาไทยนั้นกลับไม่มีเลย คำที่ใกล้เคียงมากสุดก็มีเพียง “เอา” แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ใช้เหมือนกันซะทีเดียว ด้วยความไม่คุ้ยเคยและแปลกใหม่ ทำให้ 把 เป็นหนึ่งในไวยากรณ์ที่คนไทยใช้ผิดเยอะที่สุด โดยเฉพาะในข้อสอบ HSK5 พาร์ทเรียงคำให้เป็นประโยคที่มักนำ 把 มาออกข้อสอบอยู่เสมอ ดังนั้นบทความในวันนี้จะอธิบายถึงหลักการใช้ 把 ที่ถูกต้องและข้อควรระวัง เพื่อให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจหลักการใช้ ไวยากรณ์ HSK5 ให้มากขึ้น และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าร่วมการสอบที่สำคัญอย่างการสอบ HSK5 ค่ะ
สารบัญ
- โครงสร้างพื้นฐานของ 把
- โครงสร้างเมื่อมีกรรมมากกว่า 1 ของ 把
- โครงสร้างรูปปฏิเสธของ 把
- ข้อควรระวังในการใช้ 把
โครงสร้างพื้นฐานของ 把
ในภาษาจีนนั้นประโยคที่มี 把 จะมีจุดประสงค์เพื่อเน้นว่าการกระทำของประโยคนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจะแตกต่างจากประโยคทั่วไปที่เน้นที่ประธาน หรือประโยคที่มี 被 ที่เน้นที่ผู้ถูกกระทำ โดยการใช้ 把 จะมีโครงสร้างที่มักใช้กันทั่วไปดังนี้ :
ประธาน + 把 + กรรม + กริยา + บทเสริมกริยา |
ตัวอย่างเช่น :
- 我把这本书看完了。
Wǒ bǎ zhè běn shū kàn wán le.
ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว
- 他把书从书包里拿出来。
Tā bǎ shū cóng shūbāo lǐ ná chūlai.
เขาหยิบหนังสือออกมาจากกระเป๋า
- 老师把房间装饰得很漂亮。
Lǎoshī bǎ fángjiān zhuāngshì de hěn piàoliàng.
คุณครูตกแต่งห้องสวยมาก
จุดที่คนเรียนจีนมักพลาด เนื่องจากเมื่อใช้ 把 แล้ว จะเป็นการเน้นยำถึงการกระทำ ว่าการกระทำนั้นๆ เป็นไปอย่างไร มีผลลัพธ์แบบไหน จึงจำเป็นต้องมีบทเสริมกริยาอยู่ด้วยเสมอ และไม่สามารถที่จะจบประโยคด้วยคำกริยาเพียงอย่างเดียวได้
เช่น 我把灯关。แบบนี้จะถือว่าผิด
我把灯关了。แบบนี้จะถือว่าถูกต้อง
โครงสร้างเมื่อมีกรรมมากกว่า 1 ของ 把
ในกรณีที่ต้องการใช้ 把 ในประโยคที่มีกรรมมากกว่า 1 ตัว เราจะใช้คำว่า 给(gěi ให้) เข้ามาช่วยในประโยคตามโครงสร้างดังนี้
ประธาน + 把 + กรรม1 + กริยา + 给 + กรรม2 |
ตัวอย่างเช่น :
- 我把那本书送给他了。
Wǒ bǎ nà běn shū sòng gěi tā le.
ฉันเอาหนังสือเล่มนั้นให้เขาไปแล้ว
- 你能不能把钱还给我?
Nǐ néng bu néng bǎ qián huán gěi wǒ?
คุณสามารถคืนเงินให้ฉันได้ไหม?
- 老师把零食分给同学们。
Lǎoshī bǎ língshí fēn gěi tóngxuémen.
คุณครูแบ่งขนมให้เหล่านักเรียน
โครงสร้างรูปปฏิเสธของ 把
รูปปฏิเสธของประโยคที่มี 把 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ โดยแบ่งเป็นรูปประโยคปฏิเสธที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นอดีต และรูปประโยคปฏิเสธที่ใช้กับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือเป็นปัจจุบัน
รูปประโยคปฏิเสธที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นอดีต
โครงสร้างประโยคของเหตุการณ์ที่เป็นอดีตนั้นจะใช้ 没有 มาช่วยในการปฏิเสธ เพื่อบ่งบอกว่าประธานของประโยคไม่ได้กระทำสิ่งนั้นๆ โดยจะมีโครงสร้างดังนี้
ประธาน + 没有 + 把 + กรรม + กริยา + บทเสริมกริยา |
ตัวอย่างเช่น :
- 他没有把那本书拿走。
Tā méiyǒu bǎ nà běn shū ná zǒu.
เขาไม่ได้เอาหนังสือเล่มนั้นไป
- 他没有把作业交给老师。
Tā méiyǒu bǎ zuòyè jiāo gěi lǎoshī.
เขาไม่ส่งการบ้านให้คุณครู
- 爸爸没有把杯子放在桌子上。
Bàba méiyǒu bǎ bēizi fàng zài zhuōzi shàng.
พ่อไม่ได้เอาแก้ววางบนโต๊ะ
รูปประโยคปฏิเสธที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันหรือยังไม่เกิดขึ้น
โครงสร้างประโยคของเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันหรืออนาคตนั้นจะใช้ 不要 มาช่วยในการปฏิเสธ เพื่อบ่งบอกให้ประธานของประโยคอย่ากระทำสิ่งนั้นๆ โดยจะมีโครงสร้างดังนี้
ประธาน + 不要 + 把 + กรรม + กริยา + บทเสริมกริยา |
ตัวอย่างเช่น :
- 你不要把门关上。
Nǐ búyào bǎ mén guān shàng.
เธอไม่ต้องปิดประตูนะ
- 你不要把钥匙送给别人。
Nǐ búyào bǎ yàoshi sòng gěi biérén.
เธออย่าเอากุญแจให้คนอื่นล่ะ
- 你不要把垃圾扔在这里。
Nǐ búyào bǎ lājī rēng zài zhè lǐ.
คุณอย่าทิ้งขยะไว้ตรงนี้
ข้อควรระวังในการใช้ 把
นอกจากการวางตัวแหน่งของ 把 ในประโยคผิดแล้ว ยังมีอีกหลายจุดที่คนเรียนจีนมักพลาดและไม่รู้ ทำให้เมื่อใช้ไวยากรณ์ 把 แล้วมักใช้ผิด เพื่อให้สามารถใช้ 把 ได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าร่วมการสอบ HSK5 จึงควรรู้จักข้อควรระวังในการใช้ดังนี้ :
- ในประโยคกรรมที่เฉพาะเจาะจง
เนื่องจากไวยากรณ์ 把 จะเป็นการเน้นถึงการกระทำของประโยค จึงต้องระบุให้แน่ชัดว่ากรรมที่ถูกกระทำในประโยคเป็นสิ่งไหน โดยจะสามารถแบ่งเป็น 2 กรณีได้ดังนี้
- ใช้สรรพนามชี้เฉพาะอย่างมาช่วยระบุ
ตัวอย่างเช่น 这本书、那些朋友
- ใช้บุคคลในการแสดงความเป็นเจ้าของ
ตัวอย่างเช่น 我的手机、她的书包
แต่จะไม่สามารถใช้กับกรรมที่ไม่ชี้เฉพาะอย่าง 一个(yī gè หนึ่งอัน) หรือ 一些(yīxiē จำนวนหนึ่ง) ได้
เช่น 一本书、一些朋友、一个手机 แบบนี้จะถือว่าผิด
- ประเภทคำกริยาที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับ 把
ในการใช้ 把 นั้น จะมีคำกริยาบางประเภทที่เราไม่สามารถนำมาใช้เป็นกริยาหลักได้ โดยแบ่งคำกริยาเหล่านี้ออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภท
- กริยาการรับรู้และประสาทสัมผัส
ตัวอย่างคำศัพท์ : 看见、听见、认识、明白、知道
ตัวอย่างการใช้ :我把他认识了。 แบบนี้จะถือว่าผิด
ต้องแก้เป็น 我认识他了。(ฉันรู้จักเขา)
- กริยาที่เกี่ยวกับการคงอยู่หรือลักษณะ
ตัวอย่างคำศัพท์ : 有、在、存在、是、像
ตัวอย่างการใช้ :我把书有了。 แบบนี้จะถือว่าผิด
ต้องแก้เป็น 我有书了。(ฉันมีหนังสือแล้ว)
- กริยาที่เกี่ยวกับความรู้สึก
ตัวอย่างคำศัพท์ : 同意、怕、生气、关心、愿意
ตัวอย่างการใช้ :我把他生气了。 แบบนี้จะถือว่าผิด
ต้องแก้เป็น 我生他的气了。(ฉันโมโหเขา)
- กริยาที่เกี่ยวข้องกับลักษะท่าทางร่างกาย
ตัวอย่างคำศัพท์ : 坐、站、躺、趴、跪
ตัวอย่างการใช้ :我把椅子坐了。 แบบนี้จะถือว่าผิด
ต้องแก้เป็น 我坐在椅子上了。(ฉันนั่งบนเก้าอี้)
- กริยาที่เกี่ยวข้องกับทิศทาง
ตัวอย่างคำศัพท์ : 去、来、上、下、过去
ตัวอย่างการใช้ :我把曼谷去过一次。 แบบนี้จะถือว่าผิด
ต้องแก้เป็น 我去过一次曼谷。(ฉันเคยไปกรุงเทพมาแล้วหนึ่งครั้ง)
ในความเป็นจริงแล้วไวยากรณ์ 把 มีหลักการใช้ที่ค่อนข้างง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ด้วยความไม่คุ้นชินจึงทำให้ใช้ผิดได้บ่อย แต่หลังจากที่อ่านบทความนี้จบแล้ว เพื่อนๆ ก็คงมีความเข้าใจต่อการใช้ 把 มากขึ้น และใช้ได้ถูกต้องอย่างไม่มีปัญหาแน่นอนค่ะ รับรองว่าการคุยกับคนจีน เขียนบทความภาษาจีน หรือสอบ HSK5 ก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายและสบายเลยค่ะ
แต่ถ้าเพื่อนอยากเพิ่มความมั่นใจว่าจะใช้ไวยากรณ์จีนได้ถูกต้องทุกตัวแล้วล่ะก็ ต้องคอร์สติว HSK5 กับครูพี่นิวเลย เพราะในคอร์สเขามีสอนไวยากรณ์จีนที่สำคัญและพบได้บ่อยมากๆ ในข้อสอบ HSK5 แน่นอนว่าเนื้อหาภายในคอร์สไม่ได้เพียงแค่นี้เท่านั้น แต่ยังมีสอนศัพท์จีนที่น่ารู้และใช้บ่อย การติว HSK5 แบบอัดแน่นจัดเต็ม และสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่จะช่วยเตรียมให้พร้อมก่อนไปสอบ HSK5 การันตีว่าผ่าน HSK5 ได้ชัวร์ คะแนน 200 up!