คำศัพท์ที่แปลว่า “ห้าม” ในภาษาจีน เจอบ่อยทั้งในชีวิตประจำวัน และการสอบ HSK5

คำศัพท์ที่แปลว่า “ห้าม” ในภาษาจีน เจอบ่อยทั้งในชีวิตประจำวัน และการสอบ HSK5

จำศัพท์ HSK5 ที่เกี่ยวกับการ “ห้าม” ง่ายๆ ด้วยการแบ่งตามระดับความรุนแรงของแต่ละคำ รับรองว่าใช้แล้วคนจีนไม่งง สอบ HSK5 ได้สบาย!

        เพื่อนๆ บางคนคงอาจจะเคยเห็นป้ายเตือนต่างๆ ในภาษาจีน แต่ก็อาจสงสัย และไม่เข้าใจว่าทำไมคำว่า “ห้าม” หรือ “อย่า” นั้นถึงไม่เหมือนกันเลย วันนี้เราเลยได้รวบรวมคำศัพท์ที่มีความหมายว่า “ห้าม,อย่า” ที่พบเห็นได้บ่อยในภาษาจีนมาแชร์ให้ทุกๆ คนได้เข้าใจถึงความแตกต่างของคำศัพท์แต่ละคำและวิธีการใช้ พร้อมแบ่งระดับความรุนแรงของ “ห้าม” ในแต่ละตัวมาให้เข้าใจได้ง่ายๆ แบบที่ไม่ว่าจะเจอตามป้ายห้ามต่างๆ บนเว็บไซต์ บนบทความ หรือกระทั่งในข้อสอบ HSK5 ก็เข้าใจและใช้ได้ถูกต้อง

A man showing forbid gesture, making cross sign to stop someone from doing something.


 

สารบัญ


 

ความรุนแรงของ “ห้าม” ในระดับที่ 1

        ในระดับนี้ เราสามารถแบ่งคำศัพท์ได้ออกเป็น 2 คำ ซึ่งก็คือคำว่า 别 และ 不要 นั่นเองค่ะ

(bié) อย่า

        คำว่า 别 นี้เพื่อนๆ หลายคนคงคุ้นเคย และรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งเราจะสามารถพบเห็นคำนี้ได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในภาษาพูดทั่วไป ซึ่งหลักการใช้ก็ไม่ได้เข้าใจยาก โดย 别 เป็นคำวิเศษณ์บอกปฏิเสธ ที่สามารถใช้ในการตักเตือน ห้ามปราม หรือไม่อนุญาต โดย 别 จะมีรูปแบบการใช้ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบด้วยกันดังนี้

 

    รูปแบบที่ 1  : (ประธาน) + + คำกริยา    

 

        รูปแบบแรกนี้จะมีหรือไม่มีประธานในประโยคก็ได้ จากนั้นจะตามด้วยคำว่า 别 และคำกริยา เพียงเท่านั้น 

ตัวอย่างเช่น :

  • 走!

        Bié zǒu!

        อย่าไปนะ!

 

  • 怕!

        Bié pà!

        อย่าไปกลัว!

 

  • 动!

        bié dòng!

        คุณอย่าขยับ!

 

    รูปแบบที่ 2  : (ประธาน) + + กริยาวลี    

 

        รูปแบบที่ 2 นี้จะมีหรือไม่มีประธานในประโยคก็ได้เหมือนเดิม จากนั้นจะตามด้วยคำว่า 别 และกริยาวลี ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง กริยา+บทเสริมกริยา หรือเป็น กริยา+กรรม 

ตัวอย่างเช่น :

  • 喝太多!

        Bié hē tài duō!

        อย่าดื่มมากเกินไป!

 

  • 走过来!

        bié zǒu guò lai!

        เธออย่าเดินเข้ามานะ!

 

  • 打孩子!

        bié dǎ háizi!

        เธออย่าตีเด็ก!

   

    รูปแบบที่ 3  : (ประธาน) + + กริยา/กริยาวลี + 了    

 

        รูปแบบที่ 3 นี้จะต่างจาก 2 แบบแรกตรงที่จะมี 了 ตามหลัง ซึ่งจะมีความหมายต่างจากสองรูปแบบ ตรงที่จะมีความหมายว่า อย่าทำสิ่งนั้นๆ อีกต่อไปเลย แทนการบอกว่าห้าม หรืออย่าทำเพียงอย่างเดียวนั่นเองค่ะ

ตัวอย่างเช่น :

  • 哭了!

        Bié kū le!

        ไม่ต้องร้องไห้แล้ว!

 

  • 再喝了!

        bié zài hē le!

        เธอเลิกดื่มได้แล้ว!

 

  • 开车了!

        bié kāi chē le!

        เธออย่าขับรถเลย!

A woman preventing drunk man from driving.

 


 

不要 (búyào) อย่า

        คำว่า 不要 ก็คงเป็นอีกคำหนึ่งที่เพื่อนๆ หลายคนคงคุ้ยเคยกันดี เนื่องจากเป็นคำที่เรามักพบเห็นได้บ่อย ใช้ง่าย และเป็นภาษาพูดทั่วไป ซึ่งคำว่า 不要 นี้จะมีหลักการใช้ที่ใกล้เคียงกับคำว่า 别 ในบางครั้งเราก็สามารถใช้แทนกันได้เลย โดย 不要 จะมีรูปแบบการใช้ทั้งหมด 3 แบบเหมือนกับ 别 ดังนี้

 

    รูปแบบที่ 1  : (ประธาน) + 不要 + คำกริยา    

 

        รูปแบบแรกนี้จะมีหรือไม่มีประธานในประโยคก็ได้ จากนั้นค่อยตามด้วยคำว่า 不要 และคำกริยา

ตัวอย่างเช่น :

  • 不要走!

        Búyào zǒu!

        อย่าไปนะ!

 

  • 不要怕!

        Búyào pà!

        อย่าไปกลัว!

 

  • 不要动!

        búyào dòng!

        คุณอย่าขยับ!

 

    รูปแบบที่ 2  : (ประธาน) + 不要 + กริยาวลี    

 

        รูปแบบที่ 2 นี้จะมีหรือไม่มีประธานในประโยคก็ได้เหมือนเดิม จากนั้นจะตามด้วยคำว่า 不要 และกริยาวลี ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง กริยา+บทเสริมกริยา หรือเป็น กริยา+กรรม 

ตัวอย่างเช่น :

  • 不要喝太多!

        Búyào hē tài duō!

        อย่าดื่มมากเกินไป!

 

  • 不要走过来!

        búyào zǒu guò lai!

        เธออย่าเดินเข้ามานะ!

 

  • 不要打孩子!

        búyào dǎ háizi!

        เธออย่าตีเด็ก!

 

    รูปแบบที่ 3  : (ประธาน) + 不要 + กริยา/กริยาวลี + 了    

 

        รูปแบบที่ 3 นี้จะมีการเพิ่ม 了 เข้าไปด้านหลังประโยคของรูปแบบที่ 1 และ 2  ซึ่งจะทำให้ความหมายมีความแตกต่างจากสองรูปแบบแรกตรงที่จะแปลว่า อย่าทำสิ่งนั้นๆ อีกต่อไปเลย 

ตัวอย่างเช่น :

  • 不要哭了!

        Búyào kū le!

        ไม่ต้องร้องไห้แล้ว!

 

  • 不要再喝了!

        búyào zài hē le!

        เธอเลิกดื่มได้แล้ว!

 

  • 不要开车了!

        búyào kāi chē le!

        เธออย่าขับรถเลย!

 

ข้อควรระวัง เนื่องจาก 不要 นั้นไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “ห้าม, อย่า” เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถแปลว่า “ไม่ต้องการ” ได้อีกด้วย ดังนั้นหากต้องการใช้ 不要 แทนที่ 别 แล้ว ก็ควรดูให้ดีก่อนว่าประโยคนั้นๆ เป็นการห้ามปราม หรือเป็นการปฏิเสธ

        ตัวอย่างเช่น :

        我不要这本书了。(ฉันไม่อยากได้หนังสือเล่มนี้แล้ว)

ในประโยคข้างต้น เราจะไม่สามารถใช้ 别 มาแทนที่ 不要  ได้เนื่องจาก 不要 ในที่นี้มีความหมายว่า “ไม่ต้องการ” นั่นเองค่ะ

 


 

ความรุนแรงของ “ห้าม” ในระดับที่ 2

不准 (bùzhǔn) ห้าม, ไม่อนุญาต

        คำว่า 不准 นั้นเป็นคำที่ใช้ทั่วไปในภาษาพูด ซึ่งจะมีความจริงจังมากกว่า 别 และ 不要 ตรงที่จะเป็นการเน้นว่าห้ามทำ หรือไม่อนุญาตให้ทำสิ่งนั้นๆ และเราควรที่จะต้องปฏิบัติตามนั่นเองค่ะ โดย 不准 จะมีรูปแบบด้วยกันทั้งหมด 2 แบบดังนี้

 

    รูปแบบที่ 1 : (ประธาน) + 不准 + กริยา/กริยาวลี    

 

        รูปแบบแรกนั้นจะมีหรือไม่มีประธานของประโยคก็ได้ จากนั้นตามด้วย 不准 แล้วค่อยเป็นกริยา หรือกริยาวลี ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง กริยา+บทเสริมกริยา หรือเป็น กริยา+กรรม 

ตัวอย่างเช่น :

  • 不准吸烟!

        Bùzhǔn xīyān!

        ห้ามสูบบุหรี่

 

  • 上课时不准说话。

        Shàngkè shí bùzhǔn shuōhuà.

        เวลาเรียนห้ามคุยกัน

 

  • 教室里不准吃东西。

        Jiàoshì lǐ bùzhǔn chī dōngxi.

        ไม่อนุญาตให้กินของกินในห้องเรียน

 

    รูปแบบที่ 2 : (ประธาน) + 不准 + อนุประโยค    

 

        ในรูปแบบที่สองนั้นจะมีหรือไม่มีประธานของประโยคก็ได้ จากนั้นจะตามด้วย 不准 แล้วค่อยตามด้วยอนุประโยค ซึ่งก็คือประโยคที่มีหน้าที่มาขยาย หรือเสริมประโยคหลักให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น 

ตัวอย่างเช่น :

  • 不准外人进入大门。

        Bùzhǔn wàirén jìnrù dàmén.

        ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าประตูหลัก

 

  • 此处不准小孩入内。

        Cǐ chù bùzhǔn xiǎohái rù nèi.

        ที่แห่งนี้ไม่อนุญาตให้เด็กเข้า

 

  • 爸爸不准哥哥和她结婚。

        Bàba bùzhǔn gēgē hé tā jiéhūn.

        คุณพ่อไม่อนุญาตให้พี่ชายกับหล่อนแต่งงานกัน

 

ข้อควรระวัง 不准 นอกจากจจะมีความหมายว่า “ห้าม, ไม่อนุญาต” แล้ว ยังมีความหมายอื่นๆ ด้วย ดังนี้

  • ถ้า 不准 ทำหน้าที่ขยายกริยา โดยวางไว้ด้านหลัง 得 จะทำให้มีความหมายว่า “ไม่ตรง ไม่ถูกต้อง” เช่น
    • 发音发得不准 (ออกเสียงได้ไม่ถูกต้อง)
    • 手表走得不准 (นาฬิกาข้อมือเดินไม่ตรง)

 

  • ถ้ามีคำกริยานำหน้า 不准 จะทำให้มีความหมายเปลี่ยนเป็น “ไม่แน่นอน, ไม่แน่ใจ” เช่น 
    • 说不准 (พูดไม่ถูกเพราะไม่แน่ใจ)

 


 

ความรุนแรงของ “ห้าม” ในระดับที่ 3

不许 (bùxǔ) ห้าม, ไม่อนุญาต

        คำว่า 不许 นี้จะมีความหมายและการใช้ที่ใกล้เคียงกับคำว่า 不准 แต่จะแตกต่างกันตรงที่ 不许 มักจะใช้ในภาษาทางการ ทำให้ดูจริงจัง และมีความรุนแรงที่มากกว่า 不准 นั่นเอง โดย 不许 จะมีรูปแบบด้วยกันทั้งหมด 2 แบบดังนี้

 

    รูปแบบที่ 1 : (ประธาน) + 不许 + กริยา/กริยาวลี    

 

        รูปแบบแรกนั้นจะมีหรือไม่มีประธานของประโยคก็ได้ ตามด้วย 不许 จากนั้นค่อยตามด้วยกริยา หรือกริยาวลี ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง กริยา+บทเสริมกริยา หรือเป็น กริยา+กรรม 

ตัวอย่างเช่น :

  • 不许拍照

        Bùxǔ pāi zhào!

        ห้ามถ่ายรูป!

 

  • 不许浪费食物。

        Bùxǔ làngfèi shíwù.

        ห้ามกินทิ้งกินขว้าง

 

  • 起飞时不许吸烟。

        Qǐfēi shí bùxǔ xīyān.

        ไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ระหว่างที่เครื่องขึ้นบิน

 

    รูปแบบที่ 2 : (ประธาน) + 不许 + อนุประโยค    

 

        ในรูปแบบที่สองนี้ จะมีหรือไม่มีประธานก็ได้เหมือนเดิม จากนั้นจะตามด้วย 不许 แล้วค่อยตามด้วยอนุประโยค หรือประโยคที่ทำหน้าที่ขยายประโยคหลักให้มีความหมายชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น :

  • 不许你告诉老师!

        Bùxǔ nǐ gàosù lǎoshī!

        ห้ามเธอบอกคุณครูเด็ดขาด

 

  • 大学校园不许私人汽车入内。

        Dàxué xiàoyuán bùxǔ sīrén qìchē rù nèi.

        ไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ส่วนบุคคลเข้าไปในเขตมหาวิทยาลัย

 

  • 老师不许学生在图书馆大声喧哗。

        Lǎoshī bùxǔ xuéshēng zài túshūguǎn dà shēng xuānhuá.

        คุณครูไม่อนุญาตให้นักเรียนส่งเสียงดังในห้องสมุด

Asian teacher with little boy reading book and holding finger on lips making a silent gesture together in library.

 


 

ความรุนแรงของ “ห้าม” ในระดับที่ 4

请勿 (qǐngwù) กรุณาอย่าทำ

        คำว่า 请勿 นั้นจะเป็นคำในภาษาทางการที่ใช้กันทั่วไป จะไม่ใช้ในภาษาพูด โดยคำว่า 请勿 นั้นจะเป็นการห้ามปราม ไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเชิงขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตาม โดยรูปแบบส่วนใหญจะเป็นดังนี้

 

    รูปแบบ : (ประธาน) + 请勿 + กริยา/กริยาวลี    

 

        ส่วนมากแล้ว 请勿 นั้นมักจะไม่มีประธานอยู่ด้านหน้าของประโยค แต่ก็มีบางกรณีที่มีประธานนำหน้า จากนั้นแล้วจึงค่อยตามด้วย 请勿 และกริยาหรือกริยาวลี ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง กริยา+บทเสริมกริยา หรือเป็น กริยา+กรรม

ตัวอย่างเช่น :

  • 请勿抚摸展品!

        Qǐngwù fǔmō zhǎnpǐn!

        กรุณาอย่าจับสินค้าจัดแสดง

 

  • 请勿在公共场所吐痰。

        Qǐngwù zài gōnggòng chǎngsuǒ tǔ tán.

        กรุณาอย่าถ่มน้ำลายในพื้นที่สาธารณะ

 

  • 此网址含有成人资讯,未成年者请勿进入!

        Cǐ wǎngzhǐ hányǒu chéngrén zīxùn, wèi chéngnián zhě qǐngwù jìnrù!

        เว็บไซต์นี้มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะกรุณาอย่าเข้าชม

A mother covering her preteen son's eyes while online inappropriate content has show on tablet computer.

 


 

ความรุนแรงของ “ห้าม” ในระดับที่ 5

禁止 (jìnzhǐ) ห้าม, ไม่อนุญาต

        คำว่า 禁止 นั้นเป็นภาษาทางการ ซึ่งจะมีความจริงจังมากที่สุด มีความหมายห้ามปรามในเชิงบังคับ และต้องปฏิบัติตาม โดยส่วนใหญ่จะมีรูปแบบด้วยกันทั้งหมด 2 แบบดังนี้

 

    รูปแบบที่ 1 : (ประธาน) + 禁止 + กริยา/กริยาวลี    

 

        รูปแบบที่ 1 ของ 禁止 นั้นจะมีหรือไม่มีประธานก็ได้ จากนั้นตามด้วย 禁止 และกริยาหรือกริยาวลี ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง กริยา+บทเสริมกริยา หรือเป็น กริยา+กรรม

ตัวอย่างเช่น :

  • 该池塘禁止钓鱼!

        Gāi chítáng jìnzhǐ diàoyú!

        ไม่อนุญาตให้ตกปลาในสระนี้!

 

  • 这条街道禁止通行。

        Zhè tiáo jiēdào jìnzhǐ tōngxíng. 

        ไม่อนุญาตให้ผ่านถนนเส้นนี้

 

  • 禁止向海洋排放工业废水和生活垃圾。

        Jìnzhǐ xiàng hǎiyáng páifàng gōngyè fèishuǐ hé shēnghuó lājī. 

        ห้ามปล่อยน้ำเสียจากอุตสาหกรรมหรือของเสียจากครัวเรือนลงสู่มหาสมุทร

 

    รูปแบบที่ 2 : (ประธาน) + 禁止 + อนุประโยค    

 

        รูปแบบที่ 2 ของ 禁止 นั้นจะมีหรือไม่มีประธานก็ได้เช่นเดิม จากนั้นตามด้วย 禁止 แล้วค่อยเป็นอนุประโยค หรือก็คือประโยคที่มีหน้าที่มาขยาย หรือเสริมประโยคหลักให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น

 

ตัวอย่างเช่น :

  • 禁止外国记者进入该国。

        Jìnzhǐ wàiguó jìzhě jìnrù gāi guó.

        ห้ามนักข่าวต่างชาติเข้าประเทศ

 

  • 学校禁止学生携带手机进入学校。

        Xuéxiào jìnzhǐ xuéshēng xiédài shǒujī jìnrù xuéxiào.

        โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนนำโทรศัพท์มือถือเข้ามาในโรงเรียน

 

  • 禁止驾驶人于行车中使用手持电话。

        Jìnzhǐ jiàshǐ rén yú xíngchē zhōng shǐyòng shǒuchí diànhuà.

        ห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์ในขณะที่รถเคลื่อนที่

An Asian woman tries to stop her friend from using a cell phone while driving.


 

        เชื่อว่าหลังจากที่เพื่อนๆ อ่านจบแล้ว ก็คงเข้าใจคำว่า “ห้าม” ในภาษาจีนมากขึ้นระดับหนึ่ง แน่นอนว่าวิธีการใช้ “ห้าม” ยังมีอีกมายมายหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับคำศัพท์ภาษาจีนที่มีความหมายว่า “ห้าม” นั้นก็ยังมีอีกมากมายหลายคำรอให้เราไปรู้จัก ถึงแม้ตอนนี้เพื่อนๆ อาจจะยังรู้จัก “ห้าม” ในภาษาจีนเพียงแค่ 6 คำเท่านั้น แต่เราเชื่อว่าแค่ 6 คำนี้ก็ทำให้เพื่อนๆ พูดได้ ใช้คล่อง ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง หรือใช้ไปสอบ HSK5 ได้แบบไม่มีปัญหา

 

        แต่ถ้าเพื่อนๆ อยากเก่งจีนให้มากขึ้น เข้าใจทุกคำศัพท์ แม่นทุกไวยากรณ์ภาษาจีน หรือต้องการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปสอบ HSK5 แล้วล่ะก็ ต้องเรียนคอร์สติว HSK5 กับครูพี่นิวเลย เพราะในคอร์สไม่เพียงแต่จะมีสอนคำศัพท์ ไวยากรณ์ และเทคนิคการทำข้อสอบ แต่ยังมีสิทธิพิเศษอื่นๆ น่าสนใจที่มาให้พร้อม รับรองว่าช่วยให้เก่งจีนขึ้นได้แน่นอน สอบ HSK5 ผ่านได้แบบฉลุย คะแนน 200+ ชัวร์!


 

HSK5 test preparation course with New tutor is guarantee 200 points up.


 

Red Facebook inbox button with the mouse click