เด็กสายครู ห้ามพลาด! สรุปเนื้อหาออกสอบ PAT5

เด็กสายครู ห้ามพลาด! สรุปเนื้อหาออกสอบ PAT5

สรุปเนื้อหาสำคัญออกสอบ PAT5 ใครที่จะสอบครู ต้องอ่าน!

เนื้อหาด้านล่างพี่ได้สรุปเนื้อหาสำคัญที่ออกสอบ PAT5 โดยคัดคีย์เวิร์ดที่สำคัญมาให้อ่านทวน โดยจะเน้นเรื่องความรู้ทั่วไปในบริบทของความเป็นครู ซึ่งน้อง ๆ สามารถนำไปอ่านทวนเพื่อลงสนามสอบได้

 

 

ความรู้ทั่วไปในบริบทของความเป็นครู

ความหมายของครู

พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

บุคคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาของทั้งรัฐและเอกชน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์

 

กฎหมายการศึกษา

สาระสำคัญในพ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

  • การศึกษา = กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
  • การศึกษาขั้นพื้นฐาน = การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
  • การศึกษาตลอดชีวิต = การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบกับนอกระบบ 
  • สถานศึกษา = สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานทางการศึกษา
  • ครู = บุคคลากรวิชาชีพ ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
  • อาจารย์ = บุคคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545

  • เหตุผลในการประกาศใช้ คือ รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ และเป็นการสมควรในการปรับปรุงการบริหาร และจัดการศึกษา ขอบเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสมควรให้มีคณะกรรมการอาชีวศึกษา

พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553

  • เหตุผลในการประกาศใช้ คือ ระบบบริหารและการจัดการศึกษาของระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษารวมกันอยู่ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้เกิดความไม่คล่องตัว สมควรแยกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมและพื้นที่การศึกษาระดับมัธยม

พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562

  • มีจุดมุ่งหมายการทำงานคือ ทำการปฏิรูปการศึกษา แก้วิกฤตทางคุณภาพที่ตกต่ำของการศึกษาไทย ให้ดำเนินการและจัดทำข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา 

พ.ร.บ. ส่งเสริมความคุ้มครองเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550

  • เด็ก = บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • เยาวชน = บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปีบริบูรณ์

คอร์สติว PAT5

 

คุรุสภา = สภาครูแห่งชาติ เป็นองค์กรวิชาชีพครูที่ใหญ่ที่สุดในไทย มีหน้าที่กำหนกมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ออกใบอนุญาติ/พัก/เพิกถอน ผู้ประกอบวิชาชีพครู

 

สภาการศึกษา = มีหน้าที่จัดแบบแผนแนวทางในการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของ สกศ

 

ข้อบังคับคุรุสภา

  • ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  1. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ 
  2. มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
  3. ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกําหนด     
  4. ห้ามเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี 
  5. ห้ามเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 
  6. ไม่เคยต้องโทษจําคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

 

มาตรฐานวิชาชีพครูประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน คือ

1. มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์ใน วิชาชีพ

2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน

3. มาตรฐานการปฏิบัติตน

 

จรรยาบรรณวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 มี 5 ด้าน 9 ข้อ

 

1) จรรยาบรรณต่อตนเอง

1. ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพ

3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

3. ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

4. ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

             5. ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

             6. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

                 และผู้รับบริการ

             7. ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้

                 ตำแหน่ง หน้าที่โดยมิชอบ

4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมใประกอบวิชาชีพ

8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีใน

    หมู่คณะ

5) จรรยาบรรณต่อสังคม

9. ครูพึงประพฤติประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และ

    วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครอง

    ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

ใครที่อยากได้เนื้อหาและแนวข้อสอบ PAT5 เพิ่มเติม พร้อมลงสอบแบบได้คะแนนสูงชัวร์ ๆ สามารถไปทดลองเรียนฟรีได้ที่ คอร์สปั้นครู

คอร์สติว PAT5