รวมเนื้อหา "เซต" ม.4 เก็บความรู้ได้ครบทั้งบท

รวมเนื้อหา "เซต" ม.4 เก็บความรู้ได้ครบทั้งบท

เซต ถือเป็นบทเรียนที่สำคัญบทหนึ่งในวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นอย่างมาก หากเราทำความเข้าใจกับบทเรียนนี้ได้ ก็จะช่วยให้เรามีพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดีด้วย

รวมเนื้อหา "เซต" ม.4

เก็บความรู้ได้ครบทั้งบท


เซต (SET)

     เซต คือ กลุ่มของข้อมูล 1 ชุด ที่บรรจุลงในวงเล็บปีกกา { }

     สมาชิก คือ ข้อมูลแต่ละค่าในเซต

                     โดยใช้สัญลักษณ์ \epsilon มีความหมายว่า เป็นสมาชิกของเซต

                    เช่น 1 \epsilon A หมายถึง  1 เป็นสมาชิกของเซต A

การเขียนเซต (SET) มี 2 แบบ

  • แบบที่ 1 เขียนแบบแจกแจงสมาชิก

            ชื่อเซต = { สมาชิก 1, สมาชิก 2, สมาชิก 3, … }

            เช่น      A=\left \{ 1, 2, 3, 4, ... \right \}

  • แบบที่ 2 เขียนแบบบอกเงื่อนไข

            ชื่อเซต = { x l เงื่อนไข }

            เช่น     A=\left \{ x\mid 3< x\leq 5\right \}

 

ประเภทของเซต

  • เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก ใช้สัญลักษณ์  \varnothing  
  • เซตจำกัด คือ เซตที่บอกจำนวนสมาชิกได้หรือเซตว่าง
  • เซตอนันต์ คือ เซตที่บอกจำนวนสมาชิกไม่ได้

 

เอกภพสัมพัทธ์ \left (U \right )

        ขอบเขตของสมาชิกในเซตทั้งหมด

 

การเท่ากันของเซต

        เซตสองเซตจะเท่ากัน ก็ต่อเมื่อสองเซตนั้นมีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว

 

การเทียบเท่ากันของเซต

        เซตสองเซตจะเทียบเท่ากัน ก็ต่อเมื่อสองเซตนั้นมีจำนวนสมาชิกเท่ากันเสมอ

 

สับเซต \left (\subset \right )

            A เป็นสับเซตของ B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B

      เซตย่อยของเซตเดิมที่มีอยู่มาสร้างเป็นเซตใหม่ แบ่งได้เป็น

  1. สับเซตแท้
  2. สับเซตไม่แท้

    สมบัติของสับเซต

  • \varnothing \subset A เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต
  • A\subset A เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวเอง
  • ถ้า A\subset B และ B\subset C แล้ว A\subset C
  • จำนวนสับเซตแท้ 2^{n\left ( A \right )}-1
  • จำนวนสับเซตไม่แท้ 2^{n\left ( A \right )}

 

เพาเวอร์เซต P\left ( A \right )

           เซตของสับเซตทั้งหมดที่เป็นไปได้

                เช่น       A=\left \{ 1, 2 \right \}

                           สับเซตทั้งหมด คือ     \varnothing, \left \{ 1 \right \}, \left \{ 2 \right \}, \left \{ 1, 2 \right \}

                             \therefore  P\left ( A \right )=\left \{ \varnothing, \left \{ 1 \right \}, \left \{ 2 \right \}, \left \{ 1, 2 \right \} \right \}

    สมบัติของเพาเวอร์เซต

  • เซตว่างเป็นสมาชิกของทุกเพาเวอร์เซต    \varnothing \in P\left ( A \right )
  • เซตว่างเป็นสมาชิกของทุกเพาเวอร์เซต    A \in P\left ( A \right )
  •   n\left ( P\left ( A \right ) \right )=2^{n\left ( A \right )}
  •   P\left ( A\cap B \right )=P\left ( A \right )\cap P\left ( B \right )
  • ถ้า A\subset B แล้ว  P\left ( A \right )\subset P\left ( B \right )
  •  A\subset B    ก็ต่อเมื่อ   A\subset B

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คอร์สเรียนที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง