ถ้าให้ ∞∑n=1an เป็นอนุกรมอนันต์ เราจะเรียกผลบวก n พจน์แรกว่า ผลบวกย่อย (Partial Sum)
Sn=a1+a2+a3+⋯+an=n∑k=1ak
อนุกรม ∞∑n=1an จะเป็นอนุกรมลู่เข้า ถ้า ลิมิตของ limn→∞Sn หาค่าได้และกำหนดให้ผลบวกอนันต์ของอนุกรมหรือผลรวมอนันต์ของอนุกรม มีค่าเท่ากับลิมิตของผลบวกย่อย
∞∑n=1an=limn→∞Sn
ส่วนอนุกรมลู่ออกถือว่าไม่มีผลรวมอนันต์
* ดูตัวอย่างการหาผลบวกย่อยและคำนวณลิมิตเพื่อตรวจสอบว่าเป็นอนุกรมลู่เข้าหรือลู่ออกได้ที่เรื่องการลู่เข้าของอนุกรม
ตัวอย่างการหาผลรวมอนันต์จากผลบวกย่อย
ให้หาผลรวมอนันต์ของ 18+6+2+23+⋯+543n+⋯
หาผลบวกย่อยโดยใช้สูตรอนุกรมเรขาคณิต Sn=a1−a1rn1−r
Sn=18+6+2+23+⋯+543n=18−18×(13)n1−13=18[1−(13)n]33−13=18[1−(13)n]23=32×18[1−(13)n]=27[1−(13)n]
คำนวณลิมิตของ Sn
limn→∞Sn=limn→∞27[1−(13)n]=27limn→∞[1−(13)n]=27[limn→∞1−limn→∞(13)n]=27[(1)−(0)]=27
จะเห็นว่าลิมิตของ Sn หาค่าได้เท่ากับ 27 ดังนั้นอนุกรมนี้เป็นอนุกรมลู่เข้า และมีผลบวกอนันต์เท่ากับ 27 หรือเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
18+6+2+23+⋯=27
ข้อนี้สามารถใช้สูตรผลรวมอนันต์และผลรวม n พจน์ของอนุกรมเรขาคณิตตามปรกติได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างการหาผลรวมอนันต์จากผลบวกย่อยที่โจทย์กำหนดให้
อนุกรม ∞∑n=1an มีผลบวกย่อยเป็น Sn=4−n+2n+3 จงหาผลรวมอนันต์ a1+a2+a3+⋯
เนื่องจากโจทย์กำหนดผลบวกย่อยมาให้แล้ว เราจึงสามารถคำนวณผลรวมอนันต์ได้เลยโดยนำ Sn มาหาลิมิต
∞∑n=1an=limn→∞Sn=limn→∞(4−n+2n+3)=(limn→∞4)−(limn→∞n+2n+3)=(4)−(limn→∞1+2n1+3n)=4−(1+(0)1+(0))=4−1=3
ดังนั้นผลรวมอนันต์ของอนุกรมนี้เท่ากับ a1+a2+a3+⋯=3