การหารูปทั่วไปของลำดับ, การเดารูปแบบ, เดารูปแบบ, pattern recognize
(sequence pattern identification)

ลำดับคงตัว

ลำดับคงตัว คือ ลำดับที่มีค่าเท่าเดิมตลอด เช่น

7,7,7,7,7,7,

รูปทั่วไปของลำดับคงตัว คือ ค่าของตัวเลขในลำดับนั้นๆ นั่นคือ

ลำดับ k,k,k,k, จะมีรูปทั่วไปเป็น an=k ทุก n=1,2,3,

ลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิต 

รูปทั่วไปของลำดับเลขคณิต คือ

an=a1+(n1)d

เมื่อ a1 คือ พจน์แรก และ d คือ ผลต่างร่วม

รูปทั่วไปของลำดับเรขาคณิต คือ

an=a1rn1

เมื่อ a1 คือ พจน์แรก และ r คือ อัตราส่วนร่วม

น้องๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิตได้ที่แต่ละหัวข้อได้เลยครับ

ลำดับพหุนามดีกรีสอง

ลำดับพหุนามดีกรีสอง คือ ลำดับที่มีรูปทั่วไปเป็นพหุนามในรูป an=an2+bn+c เช่น an=2n23n+1 ซึ่งมี 7 พจน์แรกเป็น

0,3,10,21,36,55,78,

 

วิธีการสังเกตุลำดับพหุนาม คือ เมื่อหาผลต่างของสองพจน์ติดกันไปสองชั้นแล้วชั้นที่สองจะมีค่าเท่ากันทุกชั้น

จะเห็นว่าผลต่างในชั้นที่สองมีค่าเท่ากันและเท่ากับ 4 ทำให้เราทราบว่าเป็นลำดับพหุนาม  และจำนวนชั้นของผลต่างเป็นตัวบอกดีกรีของลำดับพหุนามนี้ ซึ่งในที่นี้ คือ ลำดับพหุนามที่มีดีกรีสอง นั่นคือ ลำดับนี้มีรูปทั่วไปเป็น

an=an2+bn+c

ทริก ก็คือ สัมประสิทธิ์ตัวแรกของลำดับพหุนามจะมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าที่เท่ากันในผลต่างชั้นที่สอง

ในที่นี้ก็คือ a=42=2 ดังนั้นเราจึงสามารถทราบได้เลยว่าลำดับพหุนามนี้มีรูปทั่วไปเป็น an=2n2+bn+c

วิธีที่ง่ายที่สุดในการหารูปทั่วไปของลำดับพหุนามกำลังสอง คือ ใช้สูตร

an=a1+(n1)d1+(n1)(n2)2×d2

เมื่อ

a1 คือ ตัวแรกในลำดับ
d1 คือ ผลต่างตัวแรกของชั้นแรก
d2 คือ ผลต่างตัวแรกในชั้นที่สอง (ชั้นที่ผลต่างเท่ากัน)

ในกรณีข้างบน จะได้ว่า a1=0,d1=3,d2=4 ดังนั้นจึงได้รูปทั่วไปเป็น

an=a1+(n1)d1+(n1)(n2)2×d2=(0)+(n1)(3)+(n1)(n2)2×(4)=0+3n3+(n23n+2)×422=3n3+(2n26n+4)=2n23n+1

นอกจากการใช้สูตรนี้แล้ว กรณีที่จำสูตรไม่ได้ เราสามารถนำรูปทั่วไป an=an2+bn+c มาแทนค่า n=1,2,3 ลงไปแล้วแก้ระบบสมการต่อไปนี้แทนก็ได้

a1=a(1)2+b(1)+c(1)a2=a(2)2+b(2)+c(2)a3=a(3)2+b(3)+c(3)

หรือในข้อนี้ เมื่อแทนค่า a1=0,a2=3 และ a3=10 ลงไปเราจะได้ระบบสมการเป็น

a+b+c=0(1)4a+2b+c=3(2)9a+3b+c=10(3)

แก้ระบบสมการแล้วก็จะได้ a=2,b=3 และ c=1 เช่นเดียวกับวิธีการใช้สูตร

รูปทั่วไปของสูตรลำดับพหุนามดีกรี n

ผลต่างเป็นลำดับเรขาคณิต

กรณีผลต่างชั้นแรกเป็นลำดับเรขาคณิต เช่น 2,8,26,80,242,728,2186,

มีผลต่างชั้นแรกเป็น 6,18,54,162,486,1458 ซึ่งเป็นลำดับเรขาคณิตที่มีอัตราส่วนร่วมเป็น r=3 จะได้ว่ารูปทั่วไปของอนุกรม 2,8,26,80,242,728,2186, คือ ลำดับเรขาคณิตบวกด้วยค่าคงตัว มีรูปทั่วไปเป็น 

an=arn1+k

โดยที่ arn1 เป็นลำดับเรขาคณิตที่มี r=3 และ k เป็นค่าคงตัว

จากนั้นเราสามารถนำข้อมูลที่เราทราบ คือ

2=a1=a3(1)1+k(1)8=a2=a3(2)1+k(2)

มาแก้ระบบสมการหาค่าของ a และ k ซึ่งจะได้ a=3 และ k=1

เราจึงได้รูปทั่วไปของลำดับ 2,8,26,80,242,728,2186, เป็น an=3×3n11=3n1

กรณีผลต่างชั้นที่สองเป็นลำดับเรขาคณิต รูปทั่วไปของลำดับก็จะอยู่ในรูป bn=arn1+bn+c เมื่อ a,b และ c เป็นค่าคงตัว และหลักการในการแก้หารูปทั่วไปก็ทำคล้ายกันกับวิธีด้านบน

แยกคิดรูปทั่วไปเป็นส่วน

กรณีที่ลำดับมีความซับซ้อนมา บางครั้งการแยกคิดเป็นส่วนๆ จะช่วยได้ดี เช่น การแบ่งคิดเศษกับส่วนแยกกัน

12+39+527+781+9243+

ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าตัวเลขตรงเศษ 1,3,5,7,9, เป็นลำดับของเลขคี่ an=2n1

ในขณะที่ลำดับที่ตัวส่วน 3,9,27,81,243, เป็นลำดับเรขาคณิตมีรูปทั่วไปเป็น bn=3n 

นั่นคือ รูปทั่วไปของลำดับที่ให้มาตั้งแต่แรก คือ cn=anbn=2n13n

คำคล้าย : การหารูปทั่วไปของลำดับ, การเดารูปแบบ, เดารูปแบบ, pattern recognize
Under Growing
"คลังความรู้" กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา พี่ๆ กำลังทยอยเพิ่มบทความและปรับปรุงรูปแบบให้อ่านง่าย ใช้ทบทวนความรู้ได้จริง รีเควสหัวข้อ หรือมีข้อเสนอแนะ ทวีตมาคุยกับพี่ๆ ได้เลยจ้า
คอร์สแนะนำ
หนังสือแนะนำ
รายละเอียดการใช้งานคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของ บริษัท โอเพ่นดูเรียน จํากัด (“โอเพ่นดูเรียน”) โอเพ่นดูเรียนจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของโอเพ่นดูเรียนได้ที่ นโยบายคุกกี้ และคุณสามารถปฏิเสธคุกกี้ได้